บทความ บทความทั่วไป


โพสเมื่อ 26 Oct 2016 12:12:32 1805 view




โรคโนโมโฟเบีย

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้มนุษย์อย่างเราๆ ต้องเริ่มที่จะก้าวตามเทคโนโลยีกันให้ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามามีบทบาทที่สำคัญของ อินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งบนรถประจำทาง เราก็ยังต้องพึ่งพาเจ้าอินเตอร์เน็ตให้ช่วยทำหน้าที่ในการส่งข้อมูล หรือค้นหาข่าวสารเรื่องราวใหม่ๆ ได้อย่างปัจจุบันทันด่วน และนอกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเราเป็นอย่างมากก็คือ โทรศัพท์มือถือ เพราะเจ้าโทรศัพท์มือถือนี่เอง ที่ทำให้เราใช้งานอินเตอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ ได้ ซึ่งก็มีทั้งเกมส์ และความบันเทิงรอบด้านเลยทีเดียว

apple-490485_960_720

ถึงแม้ว่าวิวัฒนาการจะช่วยให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากสมาร์ทโฟนหรือแทปเล็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนุ่มสาวที่ยังอยู่ในวัยเรียน เพราะโดยส่วนมากแล้วกลุ่มนักเรียนนักศึกษาจะใช้ประโยชน์ในเรื่องของการรับ-ส่งเมลล์ หาข้อมูลความรู้เพื่อใช้ประกอบการเรียน แต่สิ่งที่นอกเหนือ จากการใช้ประโยชน์ก็คือ การที่วัยรุ่นมีการเสพติดการใช้สมาร์ทโฟน เช่นการแชทคุยกับกลุ่มเพื่อน การติดโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คต่างๆ โดยปัจจุบันได้มีโรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นมาจากการเสพติดการใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า โรคโนโมโฟเบีย โดยมีผลวิจัยออกมาแล้วพบว่า โรคโนโมโฟเบียนั้น ถูกพบมากที่สุดในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 18-24 ปี รองลงมาคืออายุ 25-34 ปี ซึ่งผู้ที่เข้าข่ายของการเป็นโรคโนโมโฟเบียจะมีลักษณะดังนี้

เมื่อหาโทรศัพท์ไม่เจอ จะมีอาการตื่นตระหนกตกใจมากกว่าการทำสิ่งของประเภทอื่นหาย

ก่อนนอนจะต้องเล่นโทรศัพท์และเมื่อตื่นนอนก็จะเล่นโทรศัพท์เป็นอันดับแรก

เมื่อมีข้อความเข้ามาจะรีบให้ความสำคัญกับโทรศัพท์ทันที ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถทำภารกิจอื่นๆ ได้เพราะรู้สึกไม่มีสมาธิและกระวนกระวายใจ

ใช้เวลาคุยกับผู้คนผ่านทางโลกออนไลน์มากกว่าการพูดคุยกับผู้คนจริงๆ ที่อยู่รอบข้าง

ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย

โรคโนโมโฟเบียนั้นไม่ใช่เป็นเพียงแค่ชื่อเรียกของผู้ที่ติดโทรศัพท์เท่านั้น แต่มันยังส่งผลต่อร่างกายทำให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่างได้ เช่น

อาการทางสายตา เช่นตาล้า ตาพร่า หรือเกิดอาการตาแห้ง สืบเนื่องจากการเพ่งจอโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ ซึ่งบางครั้งก็เป็นการจ้องในที่ที่มีแสงน้อย หรือบางกรณีก็เป็นผลมาจากแสงสีฟ้าบนหน้าจอโทรศัพท์ ซึ่งหากสะสมจนนานเข้าจะทำให้เป็นโรควุ้นในตาเสื่อม และจอประสาทตาเสื่อมได้

นิ้วล็อก เนื่องจากการใช้งานโทรศัพท์นั้นมีทั้งการจิ้ม กด สไลด์ ซึ่งถ้าหากต้องทำเป็นเวลานานจะทำให้ข้อมือมีอาการปวดหรืออักเสบได้ หรือหากใครลองกำมือแล้วเหยียดนิ้วมือออกได้ไม่สุด ควรจะรีบหยุดพฤติกรรมการเล่นโทรศัพท์และปรึกษาแพทย์โดยด่วน

หมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัย เพราะการเล่นโทรศัพท์นั้นส่วนมากแล้วจะมีลักษณะของการก้มหน้า และค่อมตัวลงมองจอ เมื่อทำเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยคอ บ่าและไหล่ได้ หรือหนักที่สุดอาจจะทำให้ กล้ามเนื้อไม่สามารถพยุงกระดูกได้ดีเหมือนเดิม จนเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยได้

การพัฒนาของเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้มนุษย์อย่างเราๆ สะดวกและร่นระยะเวลาในการทำธุรกรรมต่างๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตามเราควรที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุดและใช้งานอย่างพอดี เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อร่างกายของเราตามมาในภายหลัง

ผู้เขียน : ธนพล  ทองแวว (อั๋น)

Cr.pixabay.com

สามารถติดต่อหรือจ้างงานเขียนบทความได้ทาง

โทร. 095-569-5005  หรือ line ID : future-head

Email : dogs-die.in.rock-time@hotmail.com



บทความทั่วไป

มิตรภาพสำคัญกว่าชัยชนะ

นักวิ่งโอลิมบิกหยุดช่วยเพื่อนที่ล้มลง..เข้าเส้นชัย
2016-08-17 17:47:24, 3328 view

รู้ยัง!ฮิวโก้คือใคร

หลายคนอาจไม่ทราบว่าฮิวโก้เกี่ยวข้องอย่างไรกับ "ราชวงศ์"
2016-10-19 20:27:17, 15189 view

เมื่อฝรั่งถาม

เอิน กัลยกรถอดหัวใจเขียนบทความภาษาไทย - อังกฤษ
2016-10-22 08:51:58, 4441 view

ภาพร่วมร้องเพลงสรรเสริญ

ภาพร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
2016-10-23 09:06:17, 2442 view

วันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ของทุกปี
2016-10-23 09:25:59, 5429 view