โพสเมื่อ 31 Aug 2023 10:10:45 673 view
Blue Moon “บลูมูน” ดวงจันทร์ เต็มดวง
Blue Moon “บลูมูน”
ปรากฎการณ์ดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งเกิดดวงจันทร์เต็มดวงเป็นครั้งที่ 2 ของเดือน ไม่ได้เกิดขึ้นได้บ่อย ซึ่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ได้ปรากฎการณ์ “ซุปเปอร์บลูมูน” ขึ้น เป็นดวงจันทร์ที่เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี โดยสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงเย็นจนถึงรุ่นเช้าของวันที่ 31 สิงหาคม 2566 สามารถดูได้ตาเปล่าทางทิศตะวันออก
โดยทางเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ให้ความรู้เรื่อง Blue Moon “บลูมูน” ว่า ไม่ได้หมายถึงดวงจันทร์สีน้ำเงิน ในทางดาราศาสตร์ บลูมูนหมายถึง ดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน โดยปกติจะโคจรรอบโลก 29.5 วัน ขณะที่ในเดือนที่มี 30-31 วัน ส่งผลให้เมื่อวันเวลาผ่านไป บางเดือนจะเกิดดวงจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้ง คือช่วงต้นเดือนและปลายเดือน นานๆ จะเกิดขึ้นที
นับว่าการเกิดบลูมูนในครั้งนี้ในรอบ 3 ปี ล่าสุดเคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ตรงกับวันฮาโลวีน ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกสุด (Super Blue Moon) ในปีนี้ได้เกิดดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี Super Blue Moon จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีขาวนวลเหมือนทุกวัน และสวยงามที่สุดคือคืนวันที่ 30 สิงหาคม ถึงรุ่นเช้า 31 สิงหาคม 2566 ที่สำคัญยังมีดาวเสาร์ปรากฏสว่างเคียงข้างดวงจันทร์อีกด้วย สามารถชมความงามได้ด้วยตาเปล่า ถ้าอยากเห็นเต็มดวงต้องใช้กล้องโทรทัศน์ ซึ่งมีหอดูดาวอยู่ที่ 4 ในประเทศไทย คือในจังหวัด เชียงใหม่ สงขรา นครราชสีมา และฉะเชิงเทรา
ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี มีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,334
ดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน หรือ บลูมูน (Blue Moon)
This incredible shot from the Temple of Poseidon in Greece. Reuters.
เคล็ดลับการถ่ายภาพดวงจันทร์
ใช้เลนเทเลโฟโต้ ความยาวโฟกัส 300 มม. ข้นไป จะได้ภาพดวงจันทร์ขนาดใหญ่ ยิ่งถ่ายผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีความยาวโฟกัสสูง ภาพดวงจันทร์ยิ่งสวย มีรายละเอียดที่ดีมาก
ใช้ความไวแสง ISO 400 ขึ้นไป เพื่อได้ดวงจันทร์ที่มีความเข้ม การใช้ค่าความไวแสงสูงจะทำให้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้นไปด้วย ภาพไม่สั่นไหว
ปรับโฟกัสภาพ ระบบ Live View บนจอหลังกล้องเลือกโฟกัสบริเวณกลุ่มอุกกาบาตรบนผิวของดวงจันทร์ จะโฟกัสคมชัดได้ง่ายที่สุด
ปรับค่าชดเชยแสงไม่ให้สว่างเกินไป ดูว่าเห็นรายละเอียดของหลุมบนดวงจันทร์ชัดเจนหรือไม่
ใช้โหมดการถ่ายภาพแบบ M เพื่อปรับค่ารูปรับแสงความเร็วชัตเตอร์ได้อย่างสะดวก
ความเร็วชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่า 1/600 วินาที หากถ่ายมืดเกินให้เพิ่มค่าความไวแสง ISO จนได้แสงที่พอดี
รูรับแสง เลือก f/4.0 – f/8.0 เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดทั่วทั้งภาพ พร้อมปิดระบบสั่นของเลนส์
ถ่ายภาพบนขาตั้งกล้องที่มั่นคง เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดไม่สั่นไหว
บันทึกไฟล์เป็น RAW format เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับภาพในภายหลัง
ล่าสุดสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT คืนวันที่ 30 สิงหาคม 2566 เวลาประมาณ 20:15 น. ระยะห่างจากโลกประมาณ 357,185 กิโลเมตร เปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงไกลโลกที่สุด เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลาประมาณ 01:40 น. ระยะห่างจากโลกประมาณ 405,813 กิโลเมตร แสดงให้เห็นขนาดปรากฏที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในอีกวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ส่วนปรากฏการณ์บลูมูนครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2569