โพสเมื่อ 25 Jul 2023 18:18:20 64 view
4 ปัญหาสำคัญที่สะกัดกั้นการจัดการด้านโลจิสติกส์
เมื่อการจัดการด้านโลจิสติกส์การขนส่งมีความซับซ้อน มีความต่อเนื่องในหลายแง่มุม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะพบกับปัญหาด้านโลจิสติกส์ที่ค่อย ๆ ซึมออกมาและกระจายสู่ลูกค้า เมื่อปัญหาเกิดบ่อยครั้งขึ้น ความไม่พอใจสะสมอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้สมดุลของธุรกิจทั้งหมดดูแย่ลงและเป็นอุปสรรคขัดขวางความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าได้ในที่สุด
ดังนั้น เราจึงควรเข้าใจและสนใจวัตถุประสงค์หลักของงานด้านโลจิสติกส์ว่าคืออะไร คำตอบง่าย
ๆ เลย ก็คือการตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าด้วยการรับประกันการส่งมอบสินค้าที่ตรงเวลาและบริการที่มีคุณภาพ การบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ก็ถือเป็นความท้าทายที่แท้จริงซึ่งต้องใช้ระบบอัตโนมัติในการดำเนินการหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การเตรียมการและการจ้างพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจ เช่นการจัดการคลังสินค้า, supply chain และอื่น ๆ
เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาโลจิสติกส์ที่คุณอาจพบ เราจึงขอรวบรวมปัญหาโลจิสติกส์ที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำ ดังนี้
1. ความต้องการของลูกค้าเริ่มเปลี่ยนแปลงไป
ปัจจุบันโซลูชั่นโลจิสติกส์ต้องปรับให้เหมาะกับลูกค้า ความโปร่งใสของคำสั่งซื้อสินค้า, ความรวดเร็ว กระชับ ตอนนี้ลูกค้าต้องการมองเห็นทุกขั้นตอนตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบ,การผลิต,การขาย,การให้บริการตอบคำถามลูกค้าจนถึงการส่งมอบสินค้าให้ถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย พูดง่าย ๆ คือ เมื่อลูกค้ายืนยันสั่งซื้อสินค้ากับเราแล้ว พวกเขาต้องการ "Tracking" เพื่อติดตามและทราบสถานะสินค้าได้นั่นเอง ดังนั้น หากเราเข้าใจความต้องการของลูกค้าแล้วเราก็สามารถจัดการปัญหานี้ได้
ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดการที่ต้องจัดหาผลิตภัณที่เหมาะสมในปริมาณที่เหมาสมเพื่อส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม เพราะลูกค้าตัองการความโปร่งใสเพื่อตรวจสอบว่าขณะนี้สินค้าอยู่ที่ใด ในยุคนี้ สถานที่จัดส่งสินค้าของลูกค้าเชื่อมโยงกันเหมือนกับโซเชียลเน็ตเวิร์ก จึงเป็นเรื่องง่ายมากที่ลูกค้าจะเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นเรื่องดีสำหรับผู้ประกอบการที่สามารถลดจำนวนการจ้างพนักงานดูแลให้บริการงานส่วนนี้ลง
2. ปัญหาการส่งมอบตรงเวลา
การจัดการด้านโลจิสติกส์มีปัจจัยมากมายซึ่งมีทั้งควบคุมเองได้ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่คุณไม่สามารถควบคุมได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องการขนส่งอันอาจสืบเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ, โรคระบาด ที่เห็นชัด ๆ ตอนนี้เลยคือ โควิด เมื่อเกิดการระบาดแล้วทำให้ระบบการขนส่งหยุดชะงัก หรืออาจะเป็นปัญหาสงครามภายในประเทศ, เทศกาลหยุดยาวอย่างตรุษจีน, การประท้วงของคนงานหน้าท่าเรือ นี่ยังไม่หมดยังมีปัญหาอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเมื่อเราเชื่อมโยงกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เราจะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้จะเพิ่มทวีมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ดังนั้น ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ ควรต้องมีการวางแผนระยะยาวและเผื่อระยะเวลาในการขนส่งมากกว่าระยะเวลาที่ใช้จริงด้วย หรือคุณอาจจะมีการรายงานสถานะให้ลูกค้าทราบเป็นระยะเมื่อเกิดปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมจนทำให้ระบบการขนส่งสินค้าเกิดการชะงัก
3. ปัญหาความแออัดของท่าเรือ
เมื่อโลกของเรามีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น จุดรวมการขนส่งไม่ว่าจะเป็นท่าเรือ ท่ารถ หรือท่าอากาศยาน ล้วนมีความแออัดจากการรองรับสิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิดความแออัด ผู้ประกอบการโลจิสติกส์จึงควรวางแผนปรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคธุรกิจทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลไทยมีการเตรียมความพร้อมของเส้นทางการขนส่งเพื่อรองรับ AEC เพราะค่อนข้างแนนอนว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ คาดว่าจะดำเนินต่อไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากข้อตกลงการค้าเสรีมีผลบังคับใช้
สิ่งสำคัญคือเราต้องสร้างทำความเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานที่ตกลงร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้น ไม่เพียงแต่เพื่อประสิทธิภาพในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโอกาสในการปรับปรุงในอนาคตด้วย
4. ปัญหาความปลอดภัย
เนื่องจากขั้นตอนการจัดส่งสินค้าจำเป็นต้องส่งสินค้าผ่านมือผู้ประกอบการที่มีส่วนร่วมหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น รถขนส่งภายในท้องถิ่น ส่งต่อไปคลังสินค้าในเพื่อที่เพื่อดำเนินการจัดการ แล้วจึงโหลดสินค้าไปบรรทุกในตู้คอนเทนเนอร์เพื่อขนส่งไปยังท่าเรือ แล้วจึงทำการโหลดตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นเรือ เมื่อถึงปลายทางก็ต้องมีการเปิดตู้เพื่อคัดแยกสินค้าออกจากตู้ (กรณีที่ส่งสินค้าไม่เต็มตู้ หรือ LCL) ขั้นตอนเหล่านี้ ในบางครั้งเจ้าของสินค้าพบว่าเกิดความเสียหายหรือสูญหายกับสินค้าของตน แม้ว่าจะมีการทำประกันสินค้าแล้วก็ตาม แต่ความคุ้มครองบางครั้งอาจไม่คุ้มกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น การทำงานประสานกันของผู้ให้บริการทุกฝ่ายจึงจำเป็นต้องมีระบบซัพพลายเชนที่รัดกุมมาควบคุมดูแลการขนส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัยและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการมากที่สุด
ด้วยสภาพการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความท้าทายที่ตามมา ดังนั้นการติดตามปัญหาและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ผนวกกับการใช้มาตรการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จึงเป็นสัญญาณของการจัดการโลจิสติกส์ที่ช่วยให้ท่านประสบความสำเร็จในการดำเนินการด้านนี้ต่อไป