บทความ นักคิดนักเขียน


โพสเมื่อ 12 Mar 2022 22:22:09 1050 view




นักเขียนผี-Ghostwriter

คุณเคยรู้จัก "นักเขียนผี" - “นักเขียนเงา" - “Ghostwriter” หรือไม่?

นักเขียนเงา พวกเขาคือใคร/ ทำอะไร/ หารายได้จากที่ไหน เชื่อว่าคำถามเหล่านี้คงผุดขึ้นมาในใจของบุคคลที่สนใจเป็นนักเขียนอิสระ

ผู้ที่ต้องการเป็นนักเขียนผี หรือนักเขียนเงา ควรเป็นนักเขียนอิสระมาก่อน จนมีผลงานเล่มเป็นของตัวเองและมีความเชี่ยวชาญในการเขียนงานที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง จนสามารถรับงานเขียนในสำนวนของผู้อื่นได้ ซึ่งหากคุณทำได้แบบนี้แล้ว รับรองว่างานนักเขียนผีนี้จะสร้างรายได้สูงเป็นกอบกำให้คุณได้อย่างสม่ำเสมอเลยทีเดียว

ในฐานะนักเขียนผี คุณมีหน้าที่นำเอาความคิดของคนอื่นมาเป็นคำพูด เพราะลูกค้าของคุณอาจมีแนวคิดมากมายอยู่ในหัวแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดมันออกมาเป็นลำดับขั้นตอนให้ผู้อ่านเข้าใจได้อย่างไร ดังนั้น นักเขียนผีอย่างคุณต้องทำหน้าที่นี้แทนพวกเขาเหล่านั้นโดยการ

รวบรวม – เรียบเรียง – เป็นภาษาหรือสำนวนของลูกค้า จนออกมาเป็นงานเขียนที่เสร็จสมบูรณ์ให้ได้

สงสัยหรือไม่ ว่าแล้วคนกลุ่มไหนกันที่มักจ้างนักเขียนผี

คนที่มีประสบการณ์ในการเขียนน้อย

คนที่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา อาจด้วยภารกิจที่อัดแน่นจนไม่มีเวลานั่งเขียนเอง

คนที่ขาดทักษะด้านการเรียบเรียงความคิดให้เป็นขั้นตอน

ด้วยงานของนักเขียนผีเป็นงานที่ไม่เพียงแต่อาศัยทักษะด้านการเขียนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวเท่านั้น แต่ยังต้องมีทักษะเหล่านี้

ทักษะการฟัง การตีความเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการสื่อและถ่ายทอด

การเรียบเรียงเป็นภาษาเขียน และสุดท้ายคือการเขียน โดยนักเขียนผีต้องระมัดระวังการใช้สำนวนไม่ให้ติดกับสำนวนงานเขียนของตัวเอง แต่ต้องพยายามถ่ายทอดให้เป็นสำนวนและเป็นธรรมชาติของลูกค้ารายนั้น ๆ ด้วย จึงจะทำให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสและได้เข้าถึงตัวตนของคนเหล่านั้น

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ค่าธรรมเนียมการเขียนผีมักสูงกว่าค่าธรรมเนียมการเขียนอิสระมาตรฐานทั่ว ๆ ไป ผลตอบแทนสูงขนาดนี้จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักเขียนอิสระทั่วไปให้หันมาเป็นนักเขียนผี แต่ก่อนที่คุณจะกระโดดขึ้นแท่น สวมจิตวิญญาณแห่งการเป็นนักเขียนผี ขอให้เข้าใจกระบวนการและข้อดีข้อเสียขจองการเป็นนักเขียนผีเสียก่อน เพราะต้องบอกก่อนว่าเส้นทางการเขียนเงานั้น ไม่ใช่สำหรับทุกคน

คราวนี้ลองตามมาดูเส้นทางการสร้างรายได้ของนักเขียนผีกันว่าน่าสนใจมากน้อยเพียงใด กับคำถามเหล่านี้

ประเด็นแรก  :  นักเขียนผีทำเงินได้เท่าไร?

ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าตลาดสำหรับนักเขียนผีมีความแตกต่างวกันไป ดังนั้น อัตราค่าเขียนงานของนักเขียนผีจึงมีความแตกต่างกันไปด้วย ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานด้วย หากเป็นงานเชิงวิชาการที่ต้องอาศัยการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม หรืองานที่เป็นอาชีพเฉพาะทางอย่างทนายความ แพทย์ ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีอัตราจ้างที่สูงกว่างานเขียนอัตชีวประวัติทั่วไป

ประเด็นที่สอง : คุ้มไหมกับการเป็นนักเขียนผี?

คำถามนี้เหมือนง่ายที่จะตอบ แต่เอาเข้าจริง ๆ มันยากมาก เพราะคำว่า "คุ้ม" ของแต่ละคนมันไม่เท่ากัน  มันไม่สามารถเอาไม้บรรทัดมาวัดได้ เพราะ หากคุณวัดความคุ้มที่อัตราค่าจ้าง คุณอาจจะวัดได้ที่เม็ดเงินที่ได้รับ แต่หากคุณวัดความคุ้ม (ค่า) คุณต้องวัดที่จิตใจและความรู้สึกดี ๆ ที่คุณได้รับมา บางครั้ง ความคุ้ม (ค่า) อาจไม่ได้รับในตอนนี้ แต่คุณจะได้รับมันในภายภาคหน้า โดยอาจจะมาในรูปแบบของพันธมิตรทางธุรกิจ หรือที่เรียกกันโก้ ๆ ว่า "Connection” เพราะคอนเน็คชั่นไม่สามารถสร้างได้ภายในครั้งเดียว ต้องอาศัยเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

“การเป็นนักเขียนผี โดยปกติแล้วคุณไม่สามารถเปิดเผยว่าลูกค้าของคุณคือใคร ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะทำให้คุณสร้างความน่าเชื่อถือกับบุคคลภายนอก ในมุมกลับกันหากคุณไม่สนใจที่จะเป็นที่รู้จักทั่วไปในสังคม การเป็นนักเขียนผีก็จะมีคุณค่าสำหรับคุณ"

ประเด็นที่สาม : ใครต้องการใช้บริการของนักเขียนผีบ้าง?

คำถามนี้น่าคิด เพราะคนทั่วไปคงคาดไม่ถึงว่ามีคนหลายกลุ่มที่มีชื่อเสียงทางสังคมและที่มีความต้องการอยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง หันมาใช้บริการนักเขียนผีกันเป็นจำนวนมากเลยทีเดียว ซึ่งนอกเหนือจากคนดังหรือนักร้องที่ใช้นักเขียนผีในการเขียนเพลงหรืออัตชีวประวัติแล้ว นักเขียนบางคนที่อาจมีงานค่อนข้างแน่นก็ใช้นักเขียนผี ยังรวมถึงเจ้าของบล็อก ผู้ประกอบการ โค้ช ทันตแพทย์ ทนายความ และอาชีพอื่น ๆ เพื่อให้นักเขียนผีช่วยสร้างเนื้อหาให้กับพวกเขา เช่น สร้างหนังสือ หรือหลักสูตรออนไลน์อื่น ๆ

เมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ลองถามตัวเองว่าคุณพร้อมที่จะเป็น "นักเขียนผี" หรือ "Ghostwriter” หรือยัง เส้นทางการเป็นนักเขียนผีที่ประสบความสำเร็จ มองผิวเผินแล้วอาจจะเหมือนกับการเป็นนักเขียนอิสระ แต่หากมองให้ลึกลงไปจะพบความแตกต่างที่สำคัญ คือ "การพิสูจน์ตัวเอง" ว่าเป็นนักเขียนผีที่ยอดเยี่ยมได้อย่างไรต่างหาก

อย่างไรก็ตาม จงอย่าอาย อย่าท้อถอยที่จะรับงานเขียนอิสระควบคู่ไปกับการเริ่มต้นเรียนรู้เส้นทางการเป็นนักเขียนผีไปด้วย เพราะถือเป็นการทำการตลาดและต่อยอดธุรกิจของคุณ หากคุณไม่ละทิ้งความพยายามเชื่อว่าวันหนึ่ง ประตูผี เอ๊ย ไม่ใช่ ต้องเรียกว่า "ประตูสู่นักเขียนผี" จะเปิดต้อนรับเพื่อให้คุณเติบโตในแวดวงผี ๆ กันค่ะ

 



นักคิดนักเขียน

กฎ 5 ข้อเขียนอย่างไรให้ขายดี

ลองนำเทคนิค 5 ข้อนี้ไปปรับใช้กับงานเขียนตัวเอง ดูนะคะแล้วคุณจะเป็นนักเขียนได้ไม่ยากเลย..ปรับใช้ ปรับปรุง ปรับแนวคิด
2016-05-22 19:47:02, 2998 view

อยากเป็นนักเขียน

อยากเป็นนักเขียน ต้องเริ่มจากการอ่าน อ่านให้เยอะ ศึกษาให้มาก ถ้าจะเขียนอะไรก็วางจุดเริ่มและจุดจบให้ดี ถ้าเขียนไปคิดไปอาจเลิกกลางคัน ทำอะไรต้องมีการวาง
2016-05-22 19:58:05, 3040 view

เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย

เรียนรู้งานเขียนทุกๆ วันด้วยการตั้งประเด็น ฝึกคิดและเขียนด้วยตัวเอง เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย
2016-05-27 09:09:25, 2659 view

ฝึกทักษะการจับประเด็น

รู้จักตั้งคำคิด ตอบคำถาม หาจุดสำคัญของเรื่องที่จะเขียน อะไรคือประเด็นหลักที่ควรเล่น อะไรคือประเด็นรองที่ควรเขียน
2016-06-09 23:02:48, 5787 view

โฟกัสกับงานเขียนให้มากพอ

อยากเขียน แต่เขียนไม่ออก เขียนไม่ได้ เขียนไม่จบเล่ม เพราะเวลา..หรือเราโฟกัสกับมันไม่มากพอ
2016-06-01 10:50:28, 2582 view