โพสเมื่อ 08 Sep 2020 10:10:59 3302 view
5 เทคนิครีไรท์งานใหม่
คุณคิดว่าการรีไรท์ (Re-write) คือการไป copy งานของเก่า หรืองานของคนอื่นมาแล้วแปะลงไปในงานเขียนของคุณหรือไม่?
จริงอยู่ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจเช่นนั้น เพราะมีนักเขียนบทความบางกลุ่มทำเช่นนั้นอยู่ไม่น้อย การรีไรท์ที่ดี ไม่ใช่หมายความว่าคุณจะเปลี่ยนคำแค่สองสามคำในบทความแล้วก็เอาไป rerun เผยแพร่ใหม่เหมือนละครทีวี แต่คุณต้องใช้แนวคิดพื้นฐานจากบทความต้นฉบับและนำแนวคิดใหม่มาใช้ ซึ่งการรีไรท์ในเชิงสร้างสรรค์ คุณจะเห็นพัฒนาการของผลงานในอดีต ถือเป็นการ update เนื้อหาเก่า และสร้างโอกาสการเข้าชมเว็บไซต์มากขึ้นอีกด้วย
“การรีไรท์ไม่ใช่การโคลนนิ่งผลงาน แต่คือพัฒนาการของสายพันธุ์และชุบชีวิตงานเขียนเก่าขึ้นมาใหม่ต่างหาก”
หากอยากรู้ลองดู 5 เทคนิคง่าย ๆ รีไรท์บทความกันค่ะ
แตกประเด็นเปลี่ยนเป็นบทความเดี่ยว
บทความเก่า ๆ คุณอาจเคยเขียน “9 เทคนิค...”หรือ “5 เคล็ดลับงานเขียน....”คุณเห็นไหมว่าตัวเลขที่อยู่ในชื่อเรื่องบทความเก่า ๆ ของคุณ ใช้เป็นพื้นฐานและนำมาแยกย่อยเพื่อขยายความเนื้อหาเขียนบทความได้อีกมากมาย ถือเป็นการเปิดโอกาสให้คุณต่อยอดและขยายแนวคิดของคุณ สิ่งนี้แหละจะทำให้เห็นว่าคุณรู้ลึกรู้จริงกับหัวข้อที่คุณกำลังเขียนอยู่หรือไม่
รวบรวมหลากหลายกลายเป็นเรื่องเดียว
คุณอาจเป็นนักขายอบรมมืออาชีพที่มีการเทรนนิ่งคนอยู่ตลอดเวลา เชื่อว่าคุณพบเจอปัญหาเรื่องคนมากมายจนสามารถเขียนเป็นบทความปัญหาที่เจอได้ไม่น้อย ทำไมไม่ลองจับประเด็นสำคัญของบทความเก่าแต่ละบทความที่เคยเขียนไว้แล้วสรุปแยกเป็นข้อ ๆ และเผยแพร่บทความใหม่ทั้งหมด เช่น “รวมสุดยอดเทคนิคเทรนนิ่งคนให้ได้คน(เจ๋ง)”
รวมเล่มเนื้อหาซุปตาร์อยู่ด้านใน
บางครั้งเนื้อหาเก่าที่มีมากจนมองไม่เห็นทางที่จะรวบให้อยู่ในหน้าเดียวได้ มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากเกินกว่าที่จะตัดออก ทำไมไม่นำบทความเก่า ๆ ที่มีคุณค่าเหล่านั้นมารวมเล่มให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย แต่อย่าลืมวางโครงสร้าง, ความสัมพันธ์ของเนื้อหาแต่ละบทเข้าด้วยกันอย่างแนบเนียน เพื่อให้เนื้อหาชวนอ่านน่าติดตามหากมีงบประมาณเพียงพออาจจ้างนักออกแบบทำรูปเล่มที่สวยงามให้ก็ถือเป็นไอเดียที่ไม่เลว
สร้างคัมภีร์ไบเบิ้ล เชิญปันกันอ่าน” นอกจากได้เครดิตแล้วยังสร้างประโยชน์ให้ส่วนรวมอีกด้วย
แก้ไขโพสต์เก่าเอามาเล่าใหม่
การหยิบโพสต์เก่าแล้วแก้ไขปรับปรุงเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายที่ใหม่ถือเป็นเทคนิคที่ดีอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น บทความเรื่อง “ค่าโฆษณาแพงแทงให้ตรงกับการขายห้องพักอย่างไร” ซึ่งหากลูกค้าใหม่ของคุณเป็นลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ ที่อาจมีขนาดเล็กกว่าเดิม คุณก็ยังคงหยิบบทความดังกล่าวมาแก้ไขดัดแปลงให้เข้ากับลูกค้ารายใหม่ของคุณได้
เติมข้อมูลใหม่ให้โพสต์เก่า
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ปัญหาที่นักพัฒนาธุรกิจเผชิญอยู่คือ บล็อกโพสต์ที่เคยเขียนไว้เมื่อสองปีก่อนยังคงมีความเกี่ยวข้องกับสถานการปัจจุบัน สิ่งที่คุณควรทำในฐานะนักพัฒนาคือตรวจสอบโพสต์เก่าเพื่อดูว่าคุณสามารถ update ด้วยสถิติใหม่และกรณีศึกษาใหม่ ๆ ให้ real ทันยุคทันสมัยและดึงดูดใจผู้อ่านในวันนี้ด้วย
ในยุคดิจิตัล เชื่อความร้อนแรงของการแข่งขันคงหนีไม่พ้น “การแข่งขันคอนเทนต์” ซึ่งเนื้อหาที่มีคุณภาพจะมีส่วนสำคัญในกลยุทธ์ทางการตลาดของ ธุรกิจแทบทุกประเภท ดังนั้น การเรียนรู้วิธีการเขียนเนื้อหาใหม่โดยไม่ลดทอนคุณภาพจึงเป็นทักษะที่จะได้รับประโยชน์ในอนาคตแน่นอน ลองเริ่มฝึกเขียน จับประเด็น นำสาระเข้ามูลมาเล่าใหม่ ยิ่งเรามีแหล่งข้อมูลใหม่ๆ เข้ามาอัพเดทเรื่อย ๆ จะทำให้เนื้อหาของเราน่าติดตาม และแข็งแกร่งมาขึ้นเท่านั้น ลองเริ่มจากเรื่องที่ใกล้ตัว เรื่องที่ชอบ ฝึกเขียน ฝึกเล่าเรื่องดูนะคะ สำหรับเจ้าของแบรนด์ ก็เช่นเดียวกัน การเล่าเรื่องผ่านบทความ เนื้อหา จะทำให้สินค้าหรือแบรนด์ของเราน่าติดตามยิ่งขึ้น ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ