บทความ นักคิดนักเขียน


โพสเมื่อ 07 Jul 2020 20:20:32 2083 view




บันไดความสำเร็จของนักเขียน

·คุณคิดว่าผลงานชิ้นโบว์แดงของนักเขียนชื่อดังระดับโลกออกมาจากพรสวรรค์ของพวกเขาเพียงอย่างเดียวหรือ?

·กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ วันที่ได้รับความสำเร็จ มีผลงานออกมาจนได้รับการยอมรับ พวกเขามีการฝึกฝนด้วยความอดทน หรือมีเทคนิคอะไรกันบ้าง?

James Clear, นักเขียนชื่อดังเจ้าของหนังสือ  Automic Habits และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับเปลี่ยนนิสัยอีกด้วย ได้รวบรวมเทคนิคดี ๆ ในชีวิตประจำวันของนักเขียนชื่อดัง มาให้เราได้เรียนรู้กันค่ะ

1.อย่าสร้างเงื่อนไขเขียนได้ทุกที่ทุกสถานการณ์

EB White นักเขียนชื่อดังของ Charlotte’s Web กล่าวว่า ”การที่คุณมัวแต่นั่งรอให้ทุกอย่างรอบตัวคุณพร้อม ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวะล้อมภายในบ้าน, บรรยากาศต้องเงียบ เพราะหากเสียงดังอีกทึกครึกโครมจะทำให้คุณขาดสมาธิในการเขียนงาน ถ้าคุณคิดเช่นนี้ คุณอาจต้องตายไปพร้อมกับกระดาษที่กระดาษที่ว่างเปล่า”

บางครั้ง คุณอาจต้องอยู่ในสถานที่ชุมชน, บ้านของคุณอาจมีเด็กเล็กส่งเสียงดัง, มีสมาชิกในครอบครัวมาก, บ้านคับแคบ หรือปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย คุณควรจะปรับตัวและปรับใจให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมรอบตัวคุณ แต่หากทนไม่ไหวจริง ๆ ก็อาจจะปลีกวิเวกเพื่อหาพื้นที่สงบในบางคราก็ได้

“สถานที่เขียนงานไม่ใช่สูตรสมการ จะได้ลงตัวไปทุกที่ทุกเวลา”

 

2.เขียนซ้ำ ๆ ทำทุกวัน (สะกดจิตเสพติดกิจกรรมประจำวัน)

Haruki Murakami นักเขียนชาวญี่ปุ่นเล่าถึงกิจวัตรประจำวันของตัวเองที่ต้องทำทุกวันคือ ตื่นนอนแต่เช้ามืดและใช้เวลาในการเขียนงานอย่างต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง จากนั้นในช่วงบ่ายสลับมาผ่อนคลายด้วยการเปลี่ยนอิริยาบถไปออกกำลังกายและอ่านหนังสือสุดท้ายจึงเข้านอน

คุณเชื่อไหมว่าการทำแบบนี้ทุกวันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะธรรมชาติของมนุษย์จะเกิดความเบื่อหน่ายในกิจกรรมที่ทำซ้ำกันเป็นเวลานาน ดังนั้น นักเขียนที่ดีหรือผู้ที่ต้องการสร้างทักษะให้กับตนเองจะต้องมีจิตใจที่มั่นคง แข็งแกร่ง ไม่ย่อท้อจนสามารถเอาชนะจิตใจและสะกดจิตส่วนลึกของตัวเองได้ เพราะการเขียนงานเล่มยาว ๆ บางครั้งอาจต้องใช้เวลานานหลายเดือน หรือบางทีนานถึงหนึ่งปี การฝึกจิตใจแบบนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักเขียนงานเล่มเป็นอย่างมาก

 

3.ตั้งนาฬิกาปลุกสนุกกับงานเขียน

Ernest Hemingway เปิดเผยเคล็ดลับส่วนตัวในการเขียนงานว่า แสงแรกของวันใหม่ในชีวิตประจำวันของเธอ เธอมอบมันให้กับงานเขียน เพราะถือเป็นช่วงเวลาดี ๆ ที่ไม่มีสิ่งใดมารบกวนเธอ เขียนไปได้นานจนถึงจุดที่พอใจ นำงานเขียนมาอ่านทบทวนแล้วอาจแก้ไข แล้วจึงค่อยลุกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นเพื่อผ่อนคลาย

“เมื่อไรก็ตามที่คุณหยุดเขียน คุณจะรู้สึกถึงความว่างเปล่า เหมือนชีวิตขาดสิ่งที่รักไป งานเขียนช่วยเติมเต็มชีวิตคุณ”

 

4.สร้างผลงานใหม่ในผลงานเก่า

Henry Miller กล่าวว่า “เมื่อความคิดที่จะสร้างสรรค์งานเขียนใหม่ ๆ สะดุดลง ให้นำงานเขียนเก่า ๆ ที่เคยทำไว้มาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นผลงานใหม่ ๆ ขึ้นมา”

เชื่อว่านักเขียนหลายท่านคงเคยประสบกับปัญหานี้ คือบางช่วงเวลา ความคิดไม่โลดแล่น เขียนงานใหม่ไม่ออกเลย ลองนำเคล็ดลับดี ๆ ของ Henry มาปรับใช้กับการเขียนของเรา เชื่อว่าเมื่อเราอ่านงานที่เราเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้อีกครั้ง เราอาจจะเจอขุมทรัพย์ทางปัญญาชิ้นใหม่ก็เป็นได้

 

5.อย่าปล่อยเวลาผ่านไปจนไร้งานเขียน

Jodi Picoult นักเขียนงานยอดฮิตติดอันดับหนึ่งในรายการขายดีของ New York Times ได้กล่าวไว้ดีมากว่า เธอไม่เคยเชื่อและยอมแพ้กับคำว่า “สมองตัน” หรือ Writer’s block เลย หากจะให้วิเคราะห์ปัญหาของสมองตันจริง ๆ สาเหตุน่าจะมาจากการมีเวลาในการเขียนมากเกินไป และปล่อยให้เวลาไหลผ่านเหมือนสายน้ำที่ไม่ไหลกลับ ดังนั้น ขอให้นักเขียนทุกคนลงมือเขียนงาน หากอ่านแล้วไม่ดีก็แก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

“สิ่งที่แก้ไขไม่ได้สำหรับงานเขียน คือกระดาษเปล่าที่ไร้ตัวอักษรใด ๆ”

 

6.อ่านง่ายคือเขียนยาก อ่านยากคือเขียนง่าย

Maya Angelou นักเขียนชาวอเมริกัน ได้เล่าถึงนิสัยประจำวันในการเขียนของเธอว่า เธอมักจะเขียนงานลงกระดาษ แล้วทิ้งมันลงบนพื้น เมื่อผ่านไป 2-3 วัน เธอกลับมาหยิบมันไปอ่านใหม่ กระดาษบางแผ่นที่เธอเขียน เมื่อกลับมาอ่านอีกครั้งหนึ่งกลับไม่เข้าใจว่าต้องการสื่ออะไร  แต่ก็มีกระดาษบางแผ่นที่นำมาอ่านอีกครั้งก็เข้าใจง่าย ดังนั้น เธอจึงพบว่า งานเขียนชิ้นใดก็ตามที่เธอเขียนยากเพราะต้องใช้เวลาในการเรียงร้อยถ้อยคำ งานชิ้นนั้นจะอ่านและเข้าใจง่าย

 

7.ไอเดียมีเท่าไร เทใส่มาให้หมด

Barbara Kingsolver เธอเผยเคล็ดลับการเขียนงานของเธอว่า กว่าที่จะมาเป็นงานเขียน 1 หน้า เธอต้องถ่ายทอดและปล่อยความคิดไอเดียต่าง ๆ ที่อยู่ในหัวของเธอเป็นร้อยหน้า จากนั้น จึงค่อยมานั่งอ่าน และเรียบเรียงจนได้งานเขียน 1 หน้าขึ้นมา

“จงฝึกฝนให้สมองของเรามีกระชอนที่ใช้สำหรับกลั่นกรองความคิดอยู่เสมอ”

 

8.ตัดขาดสิ่งรบกวน

Nathan Englander เทคนิคของเขาเด็ดขาดจริง ๆ คือการตัดขาดจาก social ที่จะมารบกวนสมาธิในการทำงาน หากคุณต้องการ concentrate ไปที่งานเขียนของคุณ คุณต้องกำจัดสิ่งรบกวนด้วยการปิดโทรศัพท์มือถือ, งดเมล์, หยุดส่อง fb & IG 

หากใครมีความเด็ดเดี่ยวเหมือน Nathan ก็ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้กันดูได้นะคะ ที่สำคัญแม้ในบ้านเงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน เขาก็ยังใส่ที่อุดหูเพื่อตัดขาดจากเสียงที่รบกวนด้วยค่ะ

 

9.เจียรไนเพชรจากการระดมความคิดตัวเอง

AJ Jacobs แนะนำเทคนิคสำหรับนักเขียนรุ่นใหม่ว่าพยายามฝึกบังคับตัวเองให้สร้างไอเดียขึ้นมา แม้ว่าในบางครั้งไอเดียเหล่าอาจจะดูแย่ แต่ในความแย่นั้นมันจะมีเพชรน้ำงามที่ส่งแสงระยิบระยับอยู่ในนั้นด้วย หลักสำคัญคือเราต้องให้เวลากับไอเดียเหล่านั้นเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย หัดคิดวิเคราะห์เพื่อนำไอเดียไปต่อยอดความคิดให้งานเขียนของคุณ

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพของนักเขียนที่ต้องนั่งเขียนงานเป็นเวลานาน ๆ AJ กล่าวว่า เธอได้รัรบข้อมูลจากคุณหมอว่าการนั่งเขียนเป็นเวลานาน ๆ เหมือนกันสูบบุหรี่ที่บั่นทอนสุขภาพของเรา ดังนั้น เธอจึงใช้วิธีออกกำลังบนลู่วิ่งพร้อมกับเขียนงานของเธอไปด้วยพร้อมกัน หากใครทำแบบ AJ ได้ลองดูนะคะเผื่อจะช่วยให้นักเขียนหลาย ๆ ท่านหมดปัญหา office syndrome กันค่ะ

 

10.ฝึกเขียนในสิ่งที่ชอบจนกลายเป็นสิ่งที่ใช่

Khaled Hosseini กล่าวว่า การที่คุณต้องเขียนทุกวันอาจดูเป็นเรื่องที่ซ้ำซากจำเจ แล้วยิ่งคุณเขียนเรื่องที่คุณไม่ชอบ ไม่ถนัดด้วยแล้ว มันก็ไม่ต่างอะไรกับการนั่งทำรายงานส่งอาจารย์ ดังนั้น นักเขียนที่เพิ่งเริ่มเขียนใหม่ ๆ อาจต้องเขียนสิ่งที่คุณรู้สึกชอบและสนใจ แล้วคุณลองอ่านมันด้วยตัวคุณเอง เขียนเรื่องราวที่คุณต้องการบอกและต้องการอ่าน

“จงเขียนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวคุณประหนึ่งว่ามันอยู่ใต้ผิวหนังของคุณ เพราะเป็นเรื่องที่คุณรู้ลึกและรู้จริง”

 

ท้ายสุดนี้ หากสังเกตและวิเคราะห์ชีวิตประจำวันของนักเขียนชื่อดังระดับโลก พอจะสรุปพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่มีความสัมพันธ์กับงานเขียนของพวกเขา เพื่อให้เรานำมาปรับใช้กับตัวเราเองได้ ดังนี้

1)เตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการทำงานหนักทางด้านความคิดและจิตใจ “กายพร้อม ใจพร้อม”

2)จัดลำดับความสำคัญของงาน จงทำงานที่สำคัญก่อนและจัดสรรเวลาให้ลงตัวกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคุณ จงใช้ชีวิตด้วยความพอดี ไม่ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป เพราะหากคุณมัวแต่ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับงานเขียนอย่างเดียว ก็อาจทำให้ภาระหน้าที่อื่น ๆ ในชีวิตของคุณขาดหายไป

3)ยอมรับกับความยากลำบากเพื่อสร้างกำลังใจให้ต่อสู้และผ่านมันไปให้ได้ “ทางเดินชีวิตไม่ได้ราบเรียบและโรยด้วยกลีบกุหลาบ” คุณต้องเจอกับความยากลำบากที่จะผ่านเข้ามาเป็นบททดสอบจิตใจของคุณ หากคุณทำความเข้าใจและยอมรับกับมัน คุณก็จะมีกำลังที่จะต่อสู้และฝ่าฟันไปจนถึงจุดหมายที่แท้จริงในชีวิตนักเขียนของคุณได้

“สิ่งที่ดูเหมือนล้มเหลวในตอนต้นมักเป็นรากฐานของความสำเร็จ” , James Clear กล่าว

 

 

 

 

 



นักคิดนักเขียน

กฎ 5 ข้อเขียนอย่างไรให้ขายดี

ลองนำเทคนิค 5 ข้อนี้ไปปรับใช้กับงานเขียนตัวเอง ดูนะคะแล้วคุณจะเป็นนักเขียนได้ไม่ยากเลย..ปรับใช้ ปรับปรุง ปรับแนวคิด
2016-05-22 19:47:02, 2998 view

อยากเป็นนักเขียน

อยากเป็นนักเขียน ต้องเริ่มจากการอ่าน อ่านให้เยอะ ศึกษาให้มาก ถ้าจะเขียนอะไรก็วางจุดเริ่มและจุดจบให้ดี ถ้าเขียนไปคิดไปอาจเลิกกลางคัน ทำอะไรต้องมีการวาง
2016-05-22 19:58:05, 3041 view

เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย

เรียนรู้งานเขียนทุกๆ วันด้วยการตั้งประเด็น ฝึกคิดและเขียนด้วยตัวเอง เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย
2016-05-27 09:09:25, 2660 view

ฝึกทักษะการจับประเด็น

รู้จักตั้งคำคิด ตอบคำถาม หาจุดสำคัญของเรื่องที่จะเขียน อะไรคือประเด็นหลักที่ควรเล่น อะไรคือประเด็นรองที่ควรเขียน
2016-06-09 23:02:48, 5787 view

โฟกัสกับงานเขียนให้มากพอ

อยากเขียน แต่เขียนไม่ออก เขียนไม่ได้ เขียนไม่จบเล่ม เพราะเวลา..หรือเราโฟกัสกับมันไม่มากพอ
2016-06-01 10:50:28, 2583 view