บทความ นักคิดนักเขียน


โพสเมื่อ 07 Jul 2020 18:18:59 1386 view




6 เทคนิคของการเขียนเชิงบำบัด

ข้อแรก แหกกฎ

อยากเขียนอะไรก็เขียนเลยค่ะ ให้อิสระเต็มที่ พอเขียนเสร็จแล้วค่อยกลับมาอ่านแล้วไตร่ตรองถึงสิ่งที่เราเขียนระบายลงไปค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดมา อาจเขียนบรรยายถึงอาการความเจ็บปวดที่ได้รับจากการผ่าตัด, หรือจากการได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ อาจจะถูกใจหรือไม่ถูกใจ หรือทำให้ผู้ป่วยเกิดความคับข้องใจ เขียนไปได้เลยค่ะ พอเขียนเสร็จแล้วก็ลองมาอ่านและไตร่ตรองดูว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยเอง เรามองแบบเป็นกลาง หรือมองแบบเข้าข้างตัวเอง เอาแต่ใจตัวเองมากเกินไปหรือเปล่า ไม่ใช่เราคนเดียวที่ต้องการได้รับการดูแลเอาใจใส่จากทีมแพทย์ แต่อาจเป็นเพราะทีมแพทย์ต้องดูแลผู้ป่วยรายอื่นที่มีอาการหนักกว่าควบคู่ไปด้วย จึงไม่สามารถมาดูแลเอาใจใส่เราได้เต็มที่ เมื่อเขียนระบายออกมาแล้วอ่านดู อาจทำให้เราเข้าใจและเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น

 

ข้อสอง ลองส่องกระจก ยกระดับความสัมพันธ์

หากความสัมพันธ์ของคุณกับบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนรัก เพื่อน เพื่อนร่วมงานหรือแม้กระทั่งคนที่ทำให้เราเจ็บปวด ลองใช้วิธีนี้ดูค่ะ เขียนจดหมายถึงบุคคลเหล่านั้น บอกเล่าความรู้สึก แต่อย่าต่อว่าพวกเขาเหล่านั้นนะคะ ย้ำอีกครั้งค่ะว่า จุดประสงค์เพื่อบอกเล่า ระบายความรู้สึกลึก ๆ ของเราที่บางครั้งไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดออกมาได้ เพราะหากเราเขียนไปแล้ว บุคคลเหล่านั้น อาจจะเข้าใจความรู้สึกของคุณมากยิ่งขึ้น และอาจเป็นการซ่อมแซมความสัมพันธ์ที่แตกสลายได้ค่ะ แต่อย่าคาดหวังจากการเขียนด้วยวิธีนี้ว่าผู้รับสารจะเข้าใจและความสัมพันธ์จะกลับมาดีได้ดังเดิม เพราะหากไม่เป็นอย่างที่คาดหวังก็จะทำให้คุณผิดหวังและบาดแผลเรื้อรังได้อีกค่ะ

 

ข้อสาม เขียนแสดงออกเพื่อรักษาเยียวยา

หลักฐานการรักษาที่น่าทึ่งที่สุดบางส่วนมาจากการเขียนที่แสดงออกซึ่งเป็นประเภทของการบำบัดการเขียนที่มีประสบการณ์ที่เจ็บปวดจากความคิดเชิงลบและความรู้สึกจะได้รับทางออกโดยการเขียนลง การวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมการเขียนที่แสดงออกมีประสบการณ์ลดความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าลดลงการทำงานของปอดที่ดีขึ้นความดันโลหิตลดลงและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้น

 

เทคนิคนี้ช่วยให้ผู้เขียนที่ผ่านเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจมาได้ใช้การเขียนช่วยให้ผู้เขียนปรับใจกับสถานการณ์ตึงเครียดที่ผ่านมาได้  หรือบางคนอาจใช้การเขียนแนวนี้เล่าประสบการณ์ชีวิตในแง่ลบ นอกจากได้ให้วิทยาทานกับผู้อื่นแล้ว ยังพบว่าช่วยให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคได้ดีขึ้นอีกด้วย ทำให้ผู้เขียนมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ป่วยที่จะเขียนถ่ายทอดช่วงเวลาวิกฤตในชีวิตตัวเองได้ มักจะมีภูมิต้านทานค่อนข้างดี จึงไม่รู้สึกแย่เวลาที่เขียนออกมา

   

ข้อสี่ จดบันทึกการเดินทางของชีวิตเพื่อพัฒนาและปรับปรุงตัวเอง

เป้าหมายของการจดบันทึกการเดินทางของชีวิตแบบไตร่ตรองคือการติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เป็นประจำ การเขียนแบบนี้จะช่วยให้ผู้เขียนได้มองเห็นภาพรวมของความก้าวหน้าในตัวเอง เป็นการสะท้อนมุมมองของตัวเอง

      

ข้อห้า เขียนบันทึกขอบคุณทุกสิ่งที่ผ่านมาในชีวิต

การเขียนแบบนี้เป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศีลธรรม คุณค่าของจิตใจ คุณอาจเขียนความรู้สึกขอบคุณต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา ทั้งด้านบวกและด้านลบ รวมถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นกับชีวิตคุณ

 

ข้อหก สร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยบทกวี

การเขียนเชิงบทกวีนี้มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการวิธีการเปรียบเทียบและศึกษาปรัชญาในการแสดงอารมณ์ของพวกเขา     

     

 

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า วิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าการจดบันทึกความคิดและความรู้สึกของคุณสามารถรักษาได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การบำบัดด้วยการเขียนสามารถช่วยให้คุณไตร่ตรองและจัดการกับอารมณ์และประสบการณ์ด้านลบ มันสามารถช่วยให้คุณพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์การเอาใจใส่และความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังส่งเสริมการรับรู้ตนเองเพิ่มมากขึ้นด้วย

 

 

มีวิธีการบำบัดด้วยการเขียนมากมายให้เลือก ไม่ว่าอารมณ์ของคุณจะถูกกระทบอย่างไร การเลือกวิธีการการเขียนที่เหมาะสมเพื่อบำบัดจะช่วยควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของคุณให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ เนื่องจากการบำบัดด้วยการเขียนเป็นสิ่งที่สะดวก เพียงแค่คุณมีสมุดปากกา คุณก็สามารถเขียนได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ ราคาไม่แพง เหมาะที่จะเลือกเป็นเครื่องมือส่วนตัวของคุณเพื่อใช้ดูแลตนเอง

 

เมื่อรู้ข้อดีและวิธีการเขียนเชิงบำบัดแล้ว ทำไมไม่ลองด้วยตัวเองบ้างล่ะ จะได้เห็นว่าการเขียนมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด

 

 

 

 

 



นักคิดนักเขียน

กฎ 5 ข้อเขียนอย่างไรให้ขายดี

ลองนำเทคนิค 5 ข้อนี้ไปปรับใช้กับงานเขียนตัวเอง ดูนะคะแล้วคุณจะเป็นนักเขียนได้ไม่ยากเลย..ปรับใช้ ปรับปรุง ปรับแนวคิด
2016-05-22 19:47:02, 2998 view

อยากเป็นนักเขียน

อยากเป็นนักเขียน ต้องเริ่มจากการอ่าน อ่านให้เยอะ ศึกษาให้มาก ถ้าจะเขียนอะไรก็วางจุดเริ่มและจุดจบให้ดี ถ้าเขียนไปคิดไปอาจเลิกกลางคัน ทำอะไรต้องมีการวาง
2016-05-22 19:58:05, 3041 view

เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย

เรียนรู้งานเขียนทุกๆ วันด้วยการตั้งประเด็น ฝึกคิดและเขียนด้วยตัวเอง เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย
2016-05-27 09:09:25, 2660 view

ฝึกทักษะการจับประเด็น

รู้จักตั้งคำคิด ตอบคำถาม หาจุดสำคัญของเรื่องที่จะเขียน อะไรคือประเด็นหลักที่ควรเล่น อะไรคือประเด็นรองที่ควรเขียน
2016-06-09 23:02:48, 5787 view

โฟกัสกับงานเขียนให้มากพอ

อยากเขียน แต่เขียนไม่ออก เขียนไม่ได้ เขียนไม่จบเล่ม เพราะเวลา..หรือเราโฟกัสกับมันไม่มากพอ
2016-06-01 10:50:28, 2583 view