บทความ นักคิดนักเขียน


โพสเมื่อ 07 Jul 2020 18:18:31 3656 view




การเขียนเชิงบำบัด

“บำบัด" คำนี้สั้น ๆ แต่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากค้นหาความหมายของคำว่า บำบัด จะหมายถึง ทำให้คลายลง ทุเลาลง บรรเทาเบาบางลง และโดยส่วนใหญ่แล้วจะนำมาใช้สื่อความหมายในการ "บำบัดทุกข์ บำบัดโรค"

สถานการณ์ปัจจุบัน ความเร่งรีบ, สภาพเศรษฐกิจถดถอย, ซ้ำร้ายยังมีโรคระบาด(โคโรนาไวรัส 2019) ที่ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์อย่างถาวรได้ในขณะนี้ ส่งผลให้มนุษย์เรามีความเครียดสะสม หากไม่หาวิธีผ่อนคลายความเครียดนานวันเข้าอาจทำให้เจ็บป่วยได้ทั้งร่างกายและจิตใจ

 

สิ่งใดที่ช่วยทำให้อาการผิดปกติที่เราเป็นอยู่ทุเลาลง ความทุกข์หรือเศร้าและความเครียดลดลง หรือบางครั้งอาจช่วยได้มากถึงว่าอาการผิดปกติที่เคยเป็นไม่กลับมาเป็นอีก การดูแลเยียวยาแบบนี้ เราไม่ต้องพึ่งยาที่เป็นสารเคมี หรืออาจใช้บำบัดควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันก็ได้ วิธีการเช่นนี้ ถูกเรียกว่า "การบำบัด" ส่วนจะเป็นการบำบัดด้วยวิธีใดก็สุดแล้วแต่บุคคลว่าชอบแบบใด   ยกตัวอย่างเช่น

 

* ดนตรีบำบัด ผลการวิจัยเชื่อว่าดนตรีช่วยบำบัดความเครียด ช่วยให้ผ่อนคลาย หรือแม้กระทั่งช่วยให้พืชผักและสัตว์อารมณ์ดีส่งผลให้ผลผลิต, รสชาดดีขึ้น

* ธรรมชาติบำบัด ถือเป็นการรักษาอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็งบางรายที่เลือกรักษาวิธีนี้

* กายภาพบำบัด บางคนป่วยเป็นอัมพฤกษ์ สุดท้ายต้องมาหัดเคลื่อนไหวร่างกายใหม่หัดเดิน หัดช่วยเหลือตัวเอง โดยการทำกายภาพบำบัด

* สมาธิบำบัด ถือเป็นการบำบัดอีกอย่างหนึ่งที่ครอบคลุมความคิดจิตใจของมนุษย์เรา

 

 

แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่า ไม่เพียงแต่สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้นที่จะช่วยบำบัดทำให้เราหายเครียด รู้สึกผ่อนคลายได้ "การเขียน" ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยบำบัดสภาวะจิตใจของมนุษย์เราได้เช่นกัน เพราะการเขียนก็ถือเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง หากแต่ต้องรู้เทคนิคในการเขียนเพื่อบำบัด จึงไม่น่าแปลกใจว่า หากเราเขียนเป็น "การเขียน" เราก็สามารถนำเอาการเขียนมาช่วยบำบัดสภาวะจิตใจของเราได้เช่นกัน

 

ทำไม "การเขียน" จึงกลายมาเป็นเครื่องมือบำบัดสุขภาพกายและใจได้ล่ะ เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยและอยากรู้เหตุผลกันแล้ว

 

การเขียนเป็นการบำบัดอย่างหนึ่ง สามารถปรับปรุงสุขภาพของตัวเราเองได้ โดยได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึง

ลดความวิตกกังวล,อาการครุ่นคิดและอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ถูกตัดสินกระทำความผิด

ลดอาการซึมเศร้าของผู้ได้รับการบาดเจ็บและความเครียดจากบาดแผลทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

ลดอาการของโรคและพัฒนาให้ผู้ป่วยที่มีอาการลำไส้แปรปรวนได้มีความเข้าใจและยอมรับในอาการป่วยของตนเอง

 

 จริง ๆ แล้ว การเขียนก็จัดได้ว่าเป็นงานอดิเรกอีกประเภทหนึ่งของใครหลาย ๆ คน อย่าเข้าใจผิดคิดว่า "การเขียน" เป็นเพียงเรื่องของผู้ที่มีอาชีพเป็นนักเขียนเท่านั้น เปล่าเลย "การเขียน" เป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราทุกคนเขียนได้ เขียนเป็น กันมาตั้งแต่เริ่มเรียนหนังสือตอนเด็ก ๆ กันแล้ว พอเวลาล่วงเลยผ่านไป เรามีกิจกรรมอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวพันกับชีวิตเรามากขึ้น บางครั้ง เราอาจมองข้ามและให้ความสำคัญกับการเขียนน้อยลงไป

 

บางคนมีหนังสือ, เพลง, เกมส์, โทรศัพท์มือถือ เป็นเพื่อนยามเหงา ทำให้เพลิดเพลิน ลืมเรื่องราวทุกข์ใจที่ผ่านเข้ามาในชีวิต แต่มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่เลือกจะระบายความทุกข์หรือปัญหาในใจออกมาผ่านตัวอักษร เรียงร้อยถ้อยคำออกมาด้วย "การเขียน" 

 

เคยสังเกตไหมว่าเมื่อไรก็ตามที่คุณเริ่ม

เขียนระบายความในใจออกมาตามที่คุณคิด

ทิ้งกฎเกณฑ์การเขียน ทลายกรอบทฤษฎีการเขียนที่ร่ำเรียนมาทั้งชีวิตออกไป

 ไม่มีผิดถูก

เขียนได้เท่าที่อยากจะเขียน

คุณจะรู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้า หรือหาทางออกไปเจอ ก็จะมองเห็นเป็นรูปธรรมและค่อย ๆ พบทางออกของปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

 

แต่การเขียนในเชิงบำบัดนั้น ควรจะเป็นการเขียนที่เป็นเชิงสร้างสรรค์ ไม่ควรตอกย้ำจุดสีดำในใจ เพราะหากเป็นเช่นนั้น กลับยิ่งเป็นการซ้ำเติมบาดแผลในใจคุณยิ่งขึ้น ดังนั้น แม้การเขียนเชิงบำบัดจะไร้กฎเกณฑ์ทฤษฎีการเขียน แต่ในทางกลับกัน กลับเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังทางด้านความรู้สึก ความความคิด เป็นพิเศษ

 

บทความตอนหน้า เราจะมาแบ่งปันเทคนิคการเขียนเชิงบำบัดกันค่ะว่าควรเขียนอย่างไร อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

 

 



นักคิดนักเขียน

กฎ 5 ข้อเขียนอย่างไรให้ขายดี

ลองนำเทคนิค 5 ข้อนี้ไปปรับใช้กับงานเขียนตัวเอง ดูนะคะแล้วคุณจะเป็นนักเขียนได้ไม่ยากเลย..ปรับใช้ ปรับปรุง ปรับแนวคิด
2016-05-22 19:47:02, 2998 view

อยากเป็นนักเขียน

อยากเป็นนักเขียน ต้องเริ่มจากการอ่าน อ่านให้เยอะ ศึกษาให้มาก ถ้าจะเขียนอะไรก็วางจุดเริ่มและจุดจบให้ดี ถ้าเขียนไปคิดไปอาจเลิกกลางคัน ทำอะไรต้องมีการวาง
2016-05-22 19:58:05, 3040 view

เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย

เรียนรู้งานเขียนทุกๆ วันด้วยการตั้งประเด็น ฝึกคิดและเขียนด้วยตัวเอง เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย
2016-05-27 09:09:25, 2659 view

ฝึกทักษะการจับประเด็น

รู้จักตั้งคำคิด ตอบคำถาม หาจุดสำคัญของเรื่องที่จะเขียน อะไรคือประเด็นหลักที่ควรเล่น อะไรคือประเด็นรองที่ควรเขียน
2016-06-09 23:02:48, 5787 view

โฟกัสกับงานเขียนให้มากพอ

อยากเขียน แต่เขียนไม่ออก เขียนไม่ได้ เขียนไม่จบเล่ม เพราะเวลา..หรือเราโฟกัสกับมันไม่มากพอ
2016-06-01 10:50:28, 2581 view