บทความ นักคิดนักเขียน


โพสเมื่อ 07 Jul 2020 18:18:27 1200 view




5 สิ่งที่ควรทำหลังจากเขียนงานจบ

หลังจากที่ร่างต้นฉบับ เขียนจนจบโครงเรื่องที่จะเขียนแล้วนั้น คุณอาจคิดว่าเขียน “งานจบ” เสร็จสิ้นแล้ว แท้จริง ๆ แล้ว ยังไม่ได้จบเพียงแค่นี้ เพราะชิ้นงานนั้นยังไม่เสร็จขั้นสมบูรณ์ ควรทำการรีเช็ค รีไรท์ต้นฉบับอีกรอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: ทิ้งร่างสุดท้ายและเขียนใหม่

หลังจากที่เขียนงานฉบับร่างจบแล้ว จงปล่อยงานเขียนของคุณทิ้งไว้ระยะหนึ่ง แต่ไม่ใช่ปล่อยไว้นานจนลืมส่งงานให้เจ้าของงานนะคะ เดี๋ยวจะเป็นเรื่องได้ค่ะ หลังจากนั้น ลองกลับมาอ่านงานเขียนของคุณดูอีกที คุณจะพบสิ่งที่คุณต้องปรับและเขียนใหม่

ขั้นตอนที่ 2: การประเมินผล

หลังจากอ่านซ้ำและเขียนใหม่อีกครั้ง ลองอ่านเรื่องราวที่คุณแก้ไขปรับเปลี่ยนดูอีกครั้งหนึ่ง แต่หากมีทีมงานหรือบุคคลที่มีความรู้ความสามารถคอยทำการประเมินผลงานของคุณได้ นั่นจะเป็นการดีเพราะคำแนะนำและการประเมินที่ได้รับจะมีความถูกต้องและชัดเจนมากยี่งขึ้น บุคคลเหล่านั้น จะคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับพล็อตเรื่อง, โครงสร้าง, คำอธิบาย และอื่น ๆ ที่สำคัญ และอาจเป็นสิ่งที่คุณอาจมองข้าม

ขั้นตอนที่ 3: แก้ไข

เมื่อผลงานฉบับร่างของคุณผ่านการประเมินและให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ขอให้คุณนำคำแนะนำเหล่านั้นมาคิดวิเคราะห์ และทำการแก้ไข ให้เหมาะสม แต่อย่าปรับเปลี่ยนจนไม่เหลือร่องรอยสำนวนการเขียนของคุณมากจนเกินไป

ขั้นตอนที่ 4: พิสูจน์อักษร

การพิสูจน์อักษรเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพราะขั้นตอนนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่องานเขียนฉบับร่างของคุณเสร็จสิ้น และไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อเรื่องใด ๆ แล้ว  การพิสูจน์อักษรเป็นการตรวจทานหาคำพิมพ์ผิดและข้อผิดพลาด   นี่เป็นขั้นตอนสำคัญก่อนที่จะส่งตัวแทนหรือผู้เผยแพร่ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องส่งต้นฉบับที่ปราศจากข้อผิดพลาดให้กับผู้เผยแพร่ เพราะการที่งานเขียนของคุณปราศจากข้อผิดพลาด นอกจากเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าคุณเป็นนักเขียนที่มีความเป็นมืออาชีพแล้ว ยังแสดงถึงความใส่ใจในคุณภาพของงานเขียนของคุณอีกด้วย

ขั้นตอนที่ 5: การวิจัยตลาด

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเลือกช่องทางในการเผยแพร่ผลงานของคุณ ทุกวันนี้ช่องทางการเผยแพร่ผลงานมีให้เลือกมากกว่าในอดีตที่จำกัดอยู่เพียงสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ตอนนี้คุณอาจเลือกเผยแพร่ผลงานของคุณผ่านช่องทางออนไลน์ ทำเป็น ebook เพราะสามารถลดต้นทุนการผลิต และมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเผยแพร่ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์  แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าจะช่องทางใด ขอให้คุณพิจารณาลักษณะงานเขียนของคุณเป็นหลักว่าเหมาะกับผู้บริโภคสื่อแบบไหน ลูกค้าคาดหวังของคุณอยู่ตรงไหน คนเหล่านั้นชอบบริโภคและเสพย์งานผ่านสื่อใด นั่นแหละ คุณจึงจะตอบตัวเองได้ว่าคุณควรเลือกเผยแพร่งานของคุณผ่านสื่อใด

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการทำงานทุกอย่าง ไม่ใช่งานเขียนเพียงอย่างเดียว หลักการสำคัญคือ “ความใส่ใจ” กับงานที่คุณทำ หากคุณให้ความใส่ใจกับงานอย่างเต็มที่ ผลงานที่ออกมาจะดีเกินความคาดหมาย แม้ว่าคุณอาจจะเหนื่อยเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่เชื่อเถอะ ผลตอบแทนที่ได้รับคือความสุขใจนั้น คุ้มค่ามากกว่าคำว่าเหนื่อยจริง ๆ ค่ะ



นักคิดนักเขียน

กฎ 5 ข้อเขียนอย่างไรให้ขายดี

ลองนำเทคนิค 5 ข้อนี้ไปปรับใช้กับงานเขียนตัวเอง ดูนะคะแล้วคุณจะเป็นนักเขียนได้ไม่ยากเลย..ปรับใช้ ปรับปรุง ปรับแนวคิด
2016-05-22 19:47:02, 2998 view

อยากเป็นนักเขียน

อยากเป็นนักเขียน ต้องเริ่มจากการอ่าน อ่านให้เยอะ ศึกษาให้มาก ถ้าจะเขียนอะไรก็วางจุดเริ่มและจุดจบให้ดี ถ้าเขียนไปคิดไปอาจเลิกกลางคัน ทำอะไรต้องมีการวาง
2016-05-22 19:58:05, 3041 view

เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย

เรียนรู้งานเขียนทุกๆ วันด้วยการตั้งประเด็น ฝึกคิดและเขียนด้วยตัวเอง เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย
2016-05-27 09:09:25, 2660 view

ฝึกทักษะการจับประเด็น

รู้จักตั้งคำคิด ตอบคำถาม หาจุดสำคัญของเรื่องที่จะเขียน อะไรคือประเด็นหลักที่ควรเล่น อะไรคือประเด็นรองที่ควรเขียน
2016-06-09 23:02:48, 5787 view

โฟกัสกับงานเขียนให้มากพอ

อยากเขียน แต่เขียนไม่ออก เขียนไม่ได้ เขียนไม่จบเล่ม เพราะเวลา..หรือเราโฟกัสกับมันไม่มากพอ
2016-06-01 10:50:28, 2583 view