บทความ บทความทั่วไป


โพสเมื่อ 07 Jul 2020 14:14:04 1497 view




9 วิธีจัดการกับเจ้านายมู้ดดี้

9 วิธีจัดการกับเจ้านายมู้ดดี้

เจ้านายของคุณเป็นแบบไหน?

ตอนเช้าอารมณ์ดี มีเสน่ห์ น่าเข้าใกล้...

ตกบ่ายก้าวร้าว ขี้เหวี่ยง ขี้วีน...

ตกเย็น ลูกน้องเข้าหน้าไม่ติด ไม่กล้าแม้แต่จะเดินเฉียดหน้าห้อง...

ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณคงไม่โชคร้ายอยู่คนเดียวหรอก เพราะหลายล้านคนก็มีปัญหาเหมือนกับคุณน่ะแหละ  และการที่จะรับมือและจัดการกับเจ้านายหัวร้อน อารมณ์เสีย ไม่ใช่เรื่องง่าย ลองมาค้นหา 9 วิธีที่คุณ(ลูกน้อง) สามารถจัดการเขาหรือเธอได้อย่างชาญฉลาด เข้าตำราที่ว่า “รู้รักษาตัวรอด เป็นยอดมนุษย์เงินเดือน

1. พยายามเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

อาจมีสาเหตุหลายประการที่เจ้านายของคุณเป็นแบบนี้ 

เขาหรือเธออาจมีปัญหาส่วนตัวที่ทะลักเข้ามาในที่ทำงาน

อาจมีแรงกดดันอย่างรุนแรงจากการจัดการที่สูงขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายด้วยทรัพยากรที่ลดลง

ขาดความมั่นใจในตนเองในการทำงาน

มันอาจเป็นการปกปิดการปฏิบัติงานสำหรับความล้มเหลวบางอย่างและอารมณ์ฉุนเฉียวอาจเป็นยุทธวิธีอำพราง

 2. ลองค้นพบทริกเกอร์ทำตัวเป็นนักสืบ

ลองใช้ความช่างสังเกตของคุณเพื่อเช็คดูว่า เจ้านายของคุณหงุดหงิดด้วยเรื่องใด หากคุณประสบความสำเร็จในการทดสอบอารมณ์ของเจ้านายแล้วมีชีวิตรอดกลับมาได้ เราขอแสดงความยินดีด้วย แสดงว่าคุณหาทางหลีกหนีพ้น!!!

 3. หาพันธมิตร

หาแนวร่วมที่อยู่ใกล้ชิดเจ้านาย ไม่ว่าจะเป็นเลขา หรือผู้ช่วยส่วนตัว เพื่อคอยเตือนว่าตอนนี้พายุกำลังมา ความแรงระดับไหนก็ลองเช็คกันดูอีกที หากได้รับสัญญาณเตือนภัยจากพันธมิตร ขอให้คุณหาทางหนีทีไล่เอาไว้ให้ดี

 4. คุณเป็นสาเหตุของความหงุดหงิดของเจ้านายได้หรือไม่?

บางครั้ง ต้องยอมรับโดยถอดอคติในใจออกไป ว่าการที่เจ้านายหงุดหงิดและหัวร้อนมีคุณเป็นสาเหตุด้วย อาจจะมาจากสาเหตุความไม่ตรงต่อเวลา, ป่วยไข้บ่อย ๆ, ไม่รักษากำหนดเวลาส่งมอบงาน, การทำงานไม่บรรลุ

หากหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้นเกิดจากคุณ ขอให้คุณเริ่มต้นพัฒนาปรับปรุงเพื่อที่คุณจะได้กำจัดสาเหตุที่ทำให้เจ้านายหงุดหงิดได้ไปอย่างหนึ่ง

 5. อย่าติดเชื้อ

อย่าลืมตัวติดเชื้อความมู้ดดี้ของเจ้านายให้ลุกลามมาถึงตัวคุณ ความหงุดหงิด ไม่ใช่เชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่จะสามารถแพร่กระจายแบบ spreader ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากเจ้านายอารมณ์เสีย ก็ขอให้เป็นเฉพาะเจ้านาย เพราะหากคุณติดเชื้อมาด้วยก็จะทำให้บรรยากาศในที่ทำงานอึมครึม และไม่มีใครอยากเข้าใกล้คุณก็เป็นได้

 6 จำกัด การออกมาเสีย

“รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง” ภาษิตนี้ยังใช้ได้อยู่เสมอ เพราะหากคุณหลีกเลี่ยงที่จะไม่เผชิญหน้ากับเจ้านายหงุดหงิด และคุณมองว่าหากรับอารมณ์เชิงลบมามากกว่านี้อาจทำให้กระทบกับการทำงานของคุณได้ ก็ให้ลองใช้วิธี รับคำสั่งเพื่อรีบออกไปปฏิบัติงานโดยด่วน อ้างเหตุผลมีลูกค้าหรือตัวแทนรออยู่ แล้วรีบชิ่งออกมาก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายมากขึ้น

 

 7. เมื่อทุกอย่างจริงจังให้บันทึกทุกอย่าง

หากพฤติกรรมของเจ้านายของคุณเปลี่ยนจากความหงุดหงิดไปเป็นการคุกคาม คุณควรจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น บางครั้งมีเส้นแบ่งระหว่างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและมีวันที่ไม่ดี หากคุณอยู่ใกล้กับจุดแตกหัก สิ่งนี้จะมีประโยชน์มากเมื่อคุณขอความช่วยเหลือจากฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือพูดคุยกับหัวหน้าของคุณเกี่ยวกับปัญหา คุณจะมีสิทธิ์ตามกฎหมายและควรมีขั้นตอนในการจัดการกับการกลั่นแกล้ง

 8. พยายามรับและให้ข้อเสนอแนะ

การประเมินประสิทธิภาพเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสิ่งนี้ หากคุณมีได้รับโอกาสได้ประชุมกับเจ้านาย และเจ้านายเปิดโอกาสถามคุณว่า “มีปัญหาอะไรบ้างที่ทำให้คุณกังวล”  ขอให้คุณหยิบยกบันทึกที่คุณเคยเขียนไว้มาแจ้งเจ้านายด้วยความสุภาพว่า พฤติกรรมบางอย่างเช่นการตะโกนเสียงดัง อารมณ์ไม่ดีและอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของคุณ

มันเป็นการรับส่งข้อมูลแบบสองทางดังนั้นในทางกลับกันหัวหน้าของคุณอาจชี้ให้เห็นข้อบกพร่องบางอย่างในวิธีการทำงานของคุณเองและสิ่งนี้มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยคุณปรับปรุงการทำงานของคุณให้ถูกต้องตรงตามความต้องการของเจ้านายเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกับเจ้านาย

 

9. เป็นผู้ฟังที่ดี

เจ้านายบางคนไม่ชอบให้คุณพูดแทรกระหว่างออกคำสั่ง เพราะในหัวสมองของเจ้านายบางคนมีเรื่องต้องขบคิดและพิจารณาตัดสินใจมากมาย หากคุณพูดแทรกไป อาจะทำให้เจ้านายลืมข้อมูลบางอย่างได้ ทีนี้ ถ้าเจ้านายลืมหัวข้อที่จะสั่งงานคุณละก็ คุณอาจจะมีงานเข้าได้อย่างคาดไม่ถึง ทางที่ดีที่สุดคือรับฟังคำสั่งอย่างตั้งใจ หากมีข้อสงสัย ให้ซักถามเพื่อทำความเข้าใจหลังจากเจ้านายพูดจบ!

 

คนทุกคนมีค่าเท่ากัน ต่างแตกกันแค่บทบาทหน้าที่ที่ได้รับมาเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย ลูกจ้าง หัวหน้า ลูกน้อง ทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเอง ชอเพียงแต่ทำงานกันด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน บางครั้ง ด้วยสถานการณ์ตึงเครียดที่กำลังเผชิญอยู่ อาจทำให้เจ้านายเผลอตัว พูดไม่ดีกับลูกน้อง แต่เมื่อทุกอย่างคลี่คลายและสงบลง หากรู้สึกว่าตนเองทำรุนแรงกับลูกน้องมากเกินไป ก็ไม่ใช่เรื่องน่าอายที่จะกล่าวขอโทษลูกน้อง กลับจะทำให้เจ้านายที่มีลักษณะแบบนี้ได้ใจของลูกน้องไปแบบเต็ม ๆ ต่างหาก  เช่นเดียวกัน หากลูกน้องมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ภายหลังเมื่อได้รับการตำหนิตักเตือน ก็ควรปรับปรุงพฤติกรรมให้ดียิ่งขึ้น

การอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ใช่เรื่องยาก หากทุกคนถ้อยทีถ้อยอาศัยและให้เกียรติซึ่งกันและกัน

 

 



บทความทั่วไป

มิตรภาพสำคัญกว่าชัยชนะ

นักวิ่งโอลิมบิกหยุดช่วยเพื่อนที่ล้มลง..เข้าเส้นชัย
2016-08-17 17:47:24, 3329 view

รู้ยัง!ฮิวโก้คือใคร

หลายคนอาจไม่ทราบว่าฮิวโก้เกี่ยวข้องอย่างไรกับ "ราชวงศ์"
2016-10-19 20:27:17, 15227 view

เมื่อฝรั่งถาม

เอิน กัลยกรถอดหัวใจเขียนบทความภาษาไทย - อังกฤษ
2016-10-22 08:51:58, 4444 view

ภาพร่วมร้องเพลงสรรเสริญ

ภาพร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
2016-10-23 09:06:17, 2444 view

วันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ของทุกปี
2016-10-23 09:25:59, 5432 view