บทความ นักคิดนักเขียน


โพสเมื่อ 01 Jan 2020 22:22:45 3674 view




เป็นนักเขียนอย่างStephen King

Stephen King นักเขียนชื่อดัง จัดเป็นราชาแห่งนิยายแนวสยองขวัญ ผู้ใช้นามปากกา(Richard Bachman) ได้สร้างนิยายอันโด่งดังเล่มแรกคือ Carrie ในปี พ.ศ. 2516 เรื่องราวของเด็กสาวที่ถูกรังแก จนค้นพบพลังวิเศษ นำมาซึ่งการล้างแค้นทุกคนอย่างสาสม และหลังจากนั้นมาเขาปล่อยผลงานเด็ดมามากมาย กว่า 350 ล้านเล่มทั่วโลก จนเข้าตาผู้กำกับ ถูกนำไปสร้างภาพยนต์และบทละครโทรทัศน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Salem' s Lot, It, Misery, Pet Sematary

               

Stephen King จัดว่าเป็นเซเล็บ ของคนกลัวเลือด กลัวผี สยองปีศาจ สตีเฟน คิง เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นนักเขียนผู้มีพรสวรรค์มาก งานเขียนของคิง ดูเรียบง่าย และตรงไปตรงมา นอกจากนี้เขาเคยได้รับรางวัลอันเกียรติยศ National Book Award จากประธานาธิบดีบารัค โอบามา

 

                                                                              salon.com

                คิงเคยอธิบายไว้ในบทความ Why We Crave Horror Movies (1984) โดยเขาบอกว่าคนทุกคน ต่างมีความสยดสยอง ความหวาดหวั่นที่สามารถควบคุมได้ อย่างการดูหนังสยองขวัญ การขึ้นรถไฟเหาะ นั้นแสดงให้เห็นว่า ตัวตนผู้นั้น ไม่ได้ขี้ขลาดอย่างที่คิด ส่วนเคล็ดลับที่ทำให้เขาเขียนหนังสือนิยาย ปลดปล่อยจินตนาการออกมาได้ดีนั้น มีเคล็ดลับดังนี้

1. หยุดดูโทรทัศน์เพื่อมีเวลาอ่านเก็บข้อมูลได้มากขึ้น

โทรทัศน์นับว่าเป็นพิษในการปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของนักเขียน เพราะหากอยากเป็นนักเขียนที่ดี คุณควรเป็นนักอ่านที่ดีก่อน ซึ่งจะช่วยให้ปลดปล่อยจินตนาการ เชื่อมโยงเรื่องราวได้ง่าย

                                                               ขอขอบคุณภาพจากmilwaukeeindependent

2. ยอมรับกับความคิดเห็นและเสียงวิจารณ์

เป็นธรรมดา ที่มักจะมีนักอ่านที่ชื่นชอบและไม่ชื่นชอบ จงตั้งใจเขียนให้เต็มที่ อย่าหยุดเขียนมัน แน่นอนว่า คิงเคยละอายใจกับผลงานเขียนของตัวเองอย่างมาก เมื่อมีคนมาครหาว่าเขาเป็นนักหัวรุนแรง ซาดิสต์ ชอบแนวสยองขวัญ มองว่าเขาโรคจิต จนเมื่อเขาย่างก้าวเข้าสู่วัย 40 ทุกคนกลับมายกย่องว่าเขามีพรสวรรค์ ในงานเขียนระทึกขวัญ เขาเปรยออกมาว่า “ถ้าคุณไม่ชอบสิ่งที่ผมเขียน ผมทำได้แค่ยักไหล่ให้เพราะว่านี่เป็นสิ่งที่ผมทำได้” เราไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจเราได้ตลอดหรอก

 

3. เขียนอะไรที่ตนรู้ จงเป็นตัวของตัวเอง

ถ้าคุณมีความสุขกับการเขียน คุณจะสามารถเขียนมันออกมาได้ตลอด ซึ่งสอดคล้องกับนักเขียน Kurt Vonnegut เคยกล่าวไว้ว่า “ให้ค้นหาตัวเองเรื่องที่ตนสนใจ และนำเสนอให้น่าสนใจในสไตล์ของตนเอง”

 

4. สิ่งที่ยากที่สุดคือกระบวนการคิด

ถ้าคุณจัดการความคิดได้อย่างเป็นระบบ จะทำให้คุณนำเสนองานเขียนได้ดี แม้จะใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่มันจะทำให้คุณนำเสนองานเขียนได้ดีขึ้น เพราะนั่นเกิดจากการกลั่นความคิดออกมาแล้ว

 

5. อยู่ในที่สงบ ตัดการสื่อสารทางโลกเมื่อลงมือเขียน

คุณควรดื่มดำกับช่วงอารมณ์แห่งการเขียน เพื่อปลดปล่อยความคิด และจินตนาการ ควรปิดการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นมือถือ รวมถึงล๊อกประตูห้อง เพื่อให้พื้นที่ส่วนตัวกับตัวเอง ให้รู้สึกเป็นอิสระ เพื่อขีดเขียนออกมาได้ดีนั่นเอง

                                                                         ขอขอบคุณภาพจาก kerrang

6. อย่าประดิษฐ์คำมากเกินไป

การที่พยายามประดิษฐ์ถ้อยคำ จะทำให้คุณเก็ง ไม่สามารถปลดปล่อยจินตนาการออกมาได้ มันเหมือนกับเวลาที่คุณเลี้ยงสุนัขอยู่ แต่พยายามใส่ชุดราตรีอยู่บ้าน เพราะสิ่งเหล่านี้เหมือนเครื่องประดับประดา ที่ไม่สามารถสร้างความรู้สึก ลึกซึ่งอะไรมากมาย

 

7. เลี่ยงคำเชื่อมที่ไม่จำเป็น

ยิ่งใช้ยิ่งทำให้เหมือนดิ่งสู่ขุมนรก ไม่ว่าจะเป็น “เธอกล่าวว่า” “เขากล่าว” สิ่งเหล่านี้ควรตัดทิ้ง มันเหมือนวัชพืชที่กำลังทำลายสวนดอกไม้ นอกจากนี้ควรให้ความสำคัญกับย่อหน้า อย่าพยายามย่อหน้ามากเกินไป ควรมีจังหวะการเล่าเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านติดตาม

 

8. มีศิลปะในการเล่าเรื่อง

ทักษะการเล่าเรื่องให้ผู้อ่านติดตาม ถือเป็นพรสวรรค์ของผู้เขียน ประเด็นหลักสำคัญควรเน้นให้ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจ ไม่ต้องซับซ้อน หรือสงสัย ต้องอธิบาย เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกเข้าถึง รับรู้ได้

 

9. ไม่ต้องปูความหลังมากมาย

ในการเขียนนิยาย บรรยายสิ่งที่รู้จัก เพื่อเสริมเรื่องราว ควรทำอย่างพอดี เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวของตัวละครนั้นๆ มากขึ้น

 

10. เสริมทัพด้วยการเล่าเรื่องใกล้ตัวคนส่วนใหญ่

การใช้คำศัพท์เฉพาะทาง คนจะสับสนเข้าใจยาก การยกตัวอย่าง ควรเล่าเรื่องที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ เป็นเรื่องใกล้ตัว เพื่อให้ผู้อ่านจินตนการ และยอมรับเรื่องราวที่เขียนนั้นได้

 

11. อย่าขโมยความคิดของคนอื่น

งานเขียนที่น่าสนใจ และน่าติดตาม ต้องไม่ลอกเลียนแบบ พยายามให้เหมือนงานคนอื่น ควรเกิดจากการวางพล๊อต ที่ตนเองรู้สึก และวางโครงไว้แล้ว เพื่อที่จะเข้าใจงานเขียนนั้น ๆ ผ่านจิตวิญญาณ เพื่อที่โอนย้ายความคิดในหัวคุณ ไปสู่ผู้อ่านได้

 

12. หมั่นฝึกปรือเขียนทุกวัน

หมั่นเขียนทุกวัน เพื่อให้ตัวละครยังตราตรึงอยู่ในจิตใจ เพราะไม่อย่างนั้นมันจะเสื่อมสูญเสียพล๊อตไปบางจังหวะของเรื่องราวได้ มันจะทำให้ความตื่นเต้นจางหายไปจากความคิดคุณได้

 

13.วางแผนงานเขียน

                 ควรจบดราฟแรกใน 3 เดือนแรก หรือวางเป้าหมายด้วยการเขียนวันละ 10 หน้าต่อวัน ในช่วงเวลา 3 เดือน จะเขียนได้ประมาณ 180,000 คำ เพื่อสร้างดราฟแรกของหนังสือนิยายออกมา เพราะหากนานกว่านี้เรื่องราวของนิยายที่เขียนจะเริ่มแปลก

 

14. รีเช็คเมื่อเขียนเสร็จ

                หลังจากเขียนเสร็จแล้วใน 6 สัปดาห์แรก ควรปล่อยใจให้ว่าง เพื่อมองเห็นความชัดเจนของพล๊อต เมื่อนำมาอ่านรีไรท์ดราฟสอง จะทำให้เราพัฒนาตัวละคร ได้แจ่มชัดขึ้น และเป็นการยืนยันความคิดดังเดิมว่าไม่บิดเพี้ยนไป เมื่อได้อ่าน และควรกล้าที่จะตัด แก้ไข ในส่วนที่ไม่ต้องการออก ตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็น เพื่อทำให้งานเขียนออกมาดีขึ้น

 

15. สร้างสมดุลชีวิต

                สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือการสร้างสมดุลในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ และครอบครัว การรวมกันระหว่างกายและครอบครัวที่เข้าใจ จะสร้างผลงานที่ดีขึ้น เมื่อจิตใจกายสบาย เราจะสร้างสรรค์ผลงานนั้นออกมาได้ดี

                สำหรับใครที่อยากเป็นนักเขียนที่ลือชื่ออย่าง Stephen King  ลองนำแนวคิดที่เขามี ไปปรับใช้ ฝึกปรือ สร้างนิสัยการรักงานเขียนดูนะคะ

 

อ้างอิง

britannica.com

independent.co.uk

เรียบเรียงโดย: โรสรินทร์ พุมฤทธิ์



นักคิดนักเขียน

กฎ 5 ข้อเขียนอย่างไรให้ขายดี

ลองนำเทคนิค 5 ข้อนี้ไปปรับใช้กับงานเขียนตัวเอง ดูนะคะแล้วคุณจะเป็นนักเขียนได้ไม่ยากเลย..ปรับใช้ ปรับปรุง ปรับแนวคิด
2016-05-22 19:47:02, 2990 view

อยากเป็นนักเขียน

อยากเป็นนักเขียน ต้องเริ่มจากการอ่าน อ่านให้เยอะ ศึกษาให้มาก ถ้าจะเขียนอะไรก็วางจุดเริ่มและจุดจบให้ดี ถ้าเขียนไปคิดไปอาจเลิกกลางคัน ทำอะไรต้องมีการวาง
2016-05-22 19:58:05, 3033 view

เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย

เรียนรู้งานเขียนทุกๆ วันด้วยการตั้งประเด็น ฝึกคิดและเขียนด้วยตัวเอง เขียนทุกวันให้เป็นนิสัย
2016-05-27 09:09:25, 2653 view

ฝึกทักษะการจับประเด็น

รู้จักตั้งคำคิด ตอบคำถาม หาจุดสำคัญของเรื่องที่จะเขียน อะไรคือประเด็นหลักที่ควรเล่น อะไรคือประเด็นรองที่ควรเขียน
2016-06-09 23:02:48, 5771 view

โฟกัสกับงานเขียนให้มากพอ

อยากเขียน แต่เขียนไม่ออก เขียนไม่ได้ เขียนไม่จบเล่ม เพราะเวลา..หรือเราโฟกัสกับมันไม่มากพอ
2016-06-01 10:50:28, 2574 view