บทความ บทความทั่วไป


โพสเมื่อ 08 Mar 2019 21:21:42 1999 view




เปิดอาณาจักร (Nike)

เปิดอาณาจักร (Nike)  

Phil Knight คุมบังเหียนแบรนด์กีฬาอันดับ 1 ของโลก

Phil Knight เจ้าของแบรนด์รองเท้าชื่อดังระดับโลก Nike ผู้ที่ลงมือทำแบบไม่มีข้อแม้จนประสบความสำเร็จ ยอดขายพุ่งกระฉูด มีมูลค่าทรัพย์สิน: $25 พันล้านดอลลาร์

Phil Knight ออกมาลืมตาดูโลกเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 1938 ในเมือง Portland  โดยพ่อของเขาทำงานเป็นทนายความให้กับสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งใน Oregon Knightถูกหล่อหลอมให้เป็นนักสู้ นักกีฬาตัวฉกาจ เขาเคยจดบันทึกไว้ ในการวิ่งระยะ 1ไมล์สามารถทำสถิติดีที่ดีที่สุดสำหรับเขาคือ 4 นาที 10วินาที
            ในปี 1948 Bill Bowerman และ Phil Knight ได้มาเจอกันจากการที่ William Jay Bowerman หรือ Bill Bowerman เป็นโค้ชให้กับมหาวิทยาลัยโอเรกอน ขณะที่ Phil Knight เด็กหนุ่มวัย24 ปีเป็นนักวิ่งระยะกลางจากพอร์ทแลนด์ มหาวิทยาลัยโอเรกอน โดยจุดร่วมที่ทำให้เขาทำธุรกิจกัน เกิดจากต้องการทำรองเท้าวิ่งคุณภาพ เพราะณ ขนาดนั้น รองเท้าวิ่งราคาแพง แถมไม่มีคุณภาพ ไม่ถูกใจพวกเขาเท่าไรนัก จนปี1962เขาจบการศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจจาก Stanford Graduate School of Business

ในปี 1962 เดือนพฤศจิกายน Phil Knight จึงได้เสาะหาข้อมูลจนกระทั้งพบว่าแหล่งผลิตของดีคุณภาพนั้นอยู่ที่ญี่ปุ่น ซึ่งสินค้าถูกกว่าเยรมนีเยอะมาก และเป็นผู้นำตลาดในสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น หลังจากที่ร่ำเรียนจบ MBA จึงท่องโลกลัดขอบฟ้าด้วยการไปเที่ยว จนพบกับซับพลายเออร์ที่ผลิตรองเท้าให้กับประเทศญี่ปุ่นยี่ห้อ Onitsuka Tiger Company  Phil Knight  เขาตัดสินใจ “ทำที” แม้ไม่มีเงินทุน ไม่มีบริษัท หรือออฟฟิศใดๆ แต่มีความเชื่อมั่น จากนั้นจึงได้ชวน Bill Bowerman ลงขันผลิตรองเท้าด้วยทุน 500 เหรียญสหรัฐ ราวๆ 16000 บาท มุ่งหน้าขึ้นรถไฟ จากโตเกียวสู่โกเบ เพื่อพบผู้บริหาร Onitsuka จนสามารถทำสัญญาได้สำเร็จ เพื่อจัดจำหน่ายสินค้ายี่ห้อนี้ในอเมริกา และในวันที่25 มกราคม ปี 1964ก่อตั้งบริษัทในนาม Blue Ribbon Sports หรือ BRS ร่วมกับ Bill Bowerman อดีตโค้ชกรีฑาของเขา

            ในปี1970 Bill Bowermanจุดประกายความคิดขึ้นมาหลังจากที่เห็นภรรยาทำวาฟเฟิล จึงอยากทดลองทำลองเท้าจากเครื่องอบขนม โดยการใส่ยางเข้าเครื่องพิมพ์ แล้วตัดยางออกนำไปติดที่พื้นรองเท้า เพื่อลดอาการลื่นของนักกีฬา และได้นำรองเท้าคู่นี้ไปจดลิขสิทธิ์ ในชื่อของ “Nike Waffle Trainer” กลายเป็นรองเท้าไนกี้คู่แรกฝึกซ้อมอย่างเป็นทางการที่ the 1972 U.S. Track & Field Trials. จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของวงการรองเท้ากีฬาที่เห็นในวันนี้

            มรสุมเริ่มซัดเข้ามา ในปี1971 พวกเขาเริ่มมีปัญหากับโรงงานผู้ผลิตรองเท้า Blue Ribbon Sports กับ Onitsuka Tiger Company จึงยุติความสัมพันธ์ ทำให้พวกเขาหันมาผลิตรองเท้ากรีฑา เพื่อโอลิมปิกโดยเฉพาะ แล้วเริ่มทำรองเท้าตัวเองมาขายในนาม Nike ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากเทพธิดาแห่งชัยชนะในปกรณัมกรีก โดยได้นักศึกษาสาว Carolyn Davidsonผู้ออกแบบกราฟฟิคดีไซน์ ช่วยออกแบบแบรนด์ใหม่ และได้ค่าออกแบบเพียง 35 ดอลลาร์ ซึ่งตอนนี้มีมูลค่าราว643,000ดอลลาร์สหรัฐ และผลิตขึ้นในประเทศ Maxigo โดยเธอออกแบบมาหลายแบบก่อนที่จะมาตกลงใช้เครื่องหมาย “Swoosh” ถูกนำไปใช้เป็นครั้งแรกในวันที่ 18 มิถุนายน 1971 และได้แบ่งหุ้น Nike ให้เธอเป็นมูลค่า 640,000 ดอลลาร์

ในปี1972 เครื่องหมายนี้ถูกตีตราบนรองเท้าวิ่งในกีฬาโอลิมปิก จนเป็นที่รู้จักทั่วอเมริกา และถูกนำไปจดลิขสิทธิ์ที่U.S. Patent and Trademark Office ในวันที่ 22 มกราคม 1974 และได้ก่อตั้งบริษัท Nike, Inc. ในปี 1978 อย่างเต็มตัว Nike ใช้เวลาไม่กี่ปีสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดรองเท้ากีฬาได้ถึง 50% สร้างปรากฎการณ์แจ้งเกิดด้วยเซ็นสัญญากับนักกีฬาระดับโลก   ด้วยการสร้างจุดแข่งพัฒนาอย่างไม่หยุด จึงทำให้ Nike เติบโต แบรนด์แข็งแกร่ง กลายเป็นอันดับ 1 ของรองเท้ากีฬา และรองเท้าฝึกซ้อมในอเมริกา

ปี 1982Nike ร่วมมือกับบริษัทโฆษณา Wieden+Kennedy เพื่อสร้างสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกสำหรับออกอากาศในการถ่ายทอดการแข่งขันนิวยอร์กมาราธอน สร้างโดยบริษัท Wieden+Kennedy โดยใช้คำขวัญว่า Just do it ซึ่งได้รับการยกย่องไปทั่วอเมริกา

            ในปี 1984 ไมเคิล จอร์แดน สร้างปรากฎการณ์ทำให้ Nike เติบโตจนยอดถล่มทลาย พร้อมเป็นสปอนเซอร์ให้กับไมเคิล จอร์แดนในการแข่งขันบาสเกตบอล และยังได้ออกแบบรองเท้าเฉพาะในนาม Air Jordan สีดำแดง และได้รับความนิยม แม้ว่าตอนนี้จอร์แดนจะเลิกเล่นบาสเกตบอลอาชีพไปแล้วตั้งแต่ปี 2003 แต่ยังมีรายได้หลักต่อปี 60 ล้านดอนลาร์จาก Nike ซึ่งกว่าที่จะมาฮิตยอดนิยมได้ขนาดนั้น มีเรื่องวุ่นวายเกิดขึ้น เมื่อ จอร์แดน ไม่ชอบสีดำแดง เพราะเขาคิดว่าเหมือนสีปีศาจ เนื่องจากสมัยนั้นเขาฮิตรองเท้าสีขาวกัน อุปสรรคเล่นงานมาอีกดอก เมื่อคณะกรรมการ NBA สั่งแบนรองเท้านี้ เพราะโทนสีขัดกับกฎแต่งกาย ที่ต้องเป็นสีที่เข้าชุดและเข้ากับทีม MBA สั่งปรับเงิน 5000 ดอลลาร์ทุกครั้งที่จอร์แดนใส่ลงสนาม แต่ Nikeใจปั้มจ่ายค่าปรับให้ เพราะเขามองเห็นว่า นี่ละคือโอกาสที่จะโปรโมทรองเท้ารุ่นนี้ โดยมีนัยยะ ผู้ที่สวมใส่คือผู้ที่ไม่ยอมรับการแบนของ NBA นั่นเอง

            ในปี2000 Nikeเปิดตัวรุ่น Nike Shox ได้รับการตอบรับจากคอนักกีฬาเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเทนนิส,เบสบอล ,คริกเก็ต,กรีฑาและฟุตบอล ในปี 2012 บริษัทมีรายได้ประจำปีมากกว่า 24 พันล้านดอลล่า แม้ว่า Phil Knight จะไม่ได้นั่งในตำแหน่ง CEO แล้วก็ตามที เนื่องจากเขาได้เกษียณตัวเองเมื่อเดือน มิถุนายน ปี 2016 แต่ยังคงฐานะกรรมการบริษัท เพื่อเปิดทางให้คนรุ่นใหม่ทำต่อล่าสุด ตัวเลขสินทรัพย์ (Assets) ประจำปี 2016 มีมูลค่า25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันลุกตลาดออนไลน์ จับดีลกับ Amazom.com  ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจปลีกออนไลน์ พร้อมบุกกลยุทธิ์แบบ Triple Double เพื่อจับตลาดให้โต ไม่ว่าจะนวัตกรรม ความเร็ว การเชื่อมต่อผู้บริโภคพร้อมผลิตสินค้าที่ดี และกระจายสินค้าสู่ตลาดโลก พร้อมสนับสนุนเป็นสปอนเซอร์ การแข่งขันกีฬาหลายชนิด ปัจจุบันมีพนักงานราว 70,700 คน

            จากวันนั้นจนวันนี้ Phil Knightแสดงให้เห็นแล้วว่า Just Do It ลงมือทำมันซะโดยไม่มีข้อแม้ ทำให้เขาสร้าง Nike รองเท้าเพื่อนักกีฬา จนเป็นที่ยอมรับ และเป็นแบรนด์ที่ยืนหยัดแถวหน้าฮอตได้ขนาดนี้ นั่นเป็นเพราะพลังแรงศรัทธาที่เขามี พร้อมความเชื่อมั่นว่าตนเองทำได้ พร้อมได้ส่งผ่านความหวังและความเชื่อมั่นนี้ให้กับลูกทีมด้วย ครั้นเมื่อบริษัทถูกตัดรอนจาก Onitsuka tiger บรรยากาศใน Blue Ribbon ไม่ค่อยสู้ดีนัก พนักงานต่างพากันโศกเศร้า สิ้นหวัง เขารับรู้ความรู้สึกจากสถานการณ์นั้นดี จึงใช้จิตวิทยากระตุ้น ด้วยการพาทีมมองโลกในแง่บวก นี่คือ “โอกาส” ที่จะผลิตสร้างรองเท้าด้วยตัวเขาเอง จนได้สร้าง Nike บันลือโลกจวบจนทุกวันนี้ เพราะเชื่อมั่นในทีม ในผลิตภัฑณ์ว่า Nike คือเครือ่งมือทางการตลาดที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเขา



บทความทั่วไป

มิตรภาพสำคัญกว่าชัยชนะ

นักวิ่งโอลิมบิกหยุดช่วยเพื่อนที่ล้มลง..เข้าเส้นชัย
2016-08-17 17:47:24, 3304 view

รู้ยัง!ฮิวโก้คือใคร

หลายคนอาจไม่ทราบว่าฮิวโก้เกี่ยวข้องอย่างไรกับ "ราชวงศ์"
2016-10-19 20:27:17, 15079 view

เมื่อฝรั่งถาม

เอิน กัลยกรถอดหัวใจเขียนบทความภาษาไทย - อังกฤษ
2016-10-22 08:51:58, 4425 view

ภาพร่วมร้องเพลงสรรเสริญ

ภาพร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
2016-10-23 09:06:17, 2425 view

วันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ของทุกปี
2016-10-23 09:25:59, 5410 view