โพสเมื่อ 08 Mar 2019 20:20:04 1333 view
เดลล์ CEO เศรษฐีอายุน้อย
เดลล์ CEO เศรษฐีอายุน้อย
สยายปีกธุรกิจก้าวสู่เจ้าตลาดไอทีเติบโตเร็วที่สุดในโลก
'ไมเคิล เดลล์' ซีอีโอยักษ์ใหญ่ แห่งวงการคอมพิวเตอร์ ผู้ปฎิบัติตลาดเทคโนโลยีโลก อภิมหาเศรษฐี พันล้านเหรียญดอลล่าห์ ผู้มีระบบการขายที่ทรงพลัง สามารถขับเคลื่อนดีลซื้อขายบริษัทมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์
ไมเคิล เดลล์ ได้รับการขนามนามว่าเป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน ที่ประสบความสำเร็จในวงการไอทีตั้งแต่อายุยังน้อย เขาเกิดมาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1965 ในครอบครัวยิวที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเมืองฮิวส์ตัน ณ เมืองฮูสตัน รัฐเทกซัส ในประเทศสหรัญอเมริกา ครอบครัวของเขาทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยธุรกิจด้านเงินๆ ทองๆ เขาเป็นผู้หนึ่งที่มีพรสวรรค์ในด้านไอทีและการขาย เมื่ออายุ 12 ขวบเขามองเห็นโอกาสทางการเงิน ด้วยการสะสมแสมป์และการ์ดเบสอล เขาพยายามหาลู่ทางในการจำหน่ายโดยไม่ผ่านนายหน้า เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด จึงได้นำแสตมป์ที่สะสมลงในนิตยสาร เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ทางไปรษณีย์ จากงานอดิเรกเล็ก ๆสร้างรายได้ให้ไมเคิลถึง 2000 เหรียญดอลลาร์สหารัฐ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของเขา นอกจากนี้เขายังเป็นนายหน้าตัวฉกาจให้กับหนังสือพิมพ์ฮิวส์ตันโพสต์ ด้วยทักษะการขายที่ชาญฉลาด และรู้จักวิจัยและสำรวจตลาด ตั้งแต่อายุได้เพียง 15 ปีเท่านั้น ภายในปีเดียว เดลล์สามารถหาเงินได้ถึง 18,000 ดอลลาร์ ราวๆ 5 แสนบาท และได้ผันเงินก้อนนี้ไปลงทุนในหุ้นและทองคำ จากนั้นมาช่วงที่ศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยเท็กซัส
เดิลล์ได้เริ่มต้นธุรกิจบริการอัพเกรดคอมพิวเตอร์พีซีในห้องเล็กๆ ไปด้วย โดยเขาจับเครื่องคอมพิวเตอร์มาแยกชิ้น ด้วยความอยากรู้ว่าชิ้นส่วนแต่ละอย่าง ถูกออบแบบผลิตมาอย่างไร และตั้งกระดานข่าวเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เปรียบเทียบราคาเครื่องกับคนที่สนใจ และพบช่องว่างระหว่างราคาที่แท้จริง ราคาปลีก มันต่างกันมาก และเขาหาช่องว่างตรงนี้เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ และเพียงไม่นานเขาได้รับใบอนุญาตทำการค้าจากมลรัฐเท็กซัส โดยที่ไม่มีหน้าร้านแต่อย่างใด
ด้วยความที่เป็นคนอ่อนทางการศึกษา ไม่ชอบกฎระเบียบหลักเกณฑ์ หลังจากจบชั้นประถมด้วยเกรดที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก เพราะใช้หอพักมาเป็นที่ทำงาน ขายเครื่อคอมเลียนแบบไอบีเอ็ม พีซี ประกอบอุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่นๆ ที่จำเป็น จึงไม่ได้เข้าเรียน ผลการเรียนตกต่ำมาก พ่อของเขาเลยถามขึ้นว่า “ ลูกอยากทำอะไรในชีวิตนี้” เขาตอบแบบไม่ลังเลเลย “ผมอยากทำคอมพิวเตอร์แข่งกับไอบีเอ็ม” ทั้งด้านคุณภาพและบริการ พ่อจึงเปิดไฟเขียวให้ลุยธุรกิจได้เต็มตัว เขาหยุดเรียนตั้งแต่อายุ 19 ในปี 2527 และมาก่อตั้งบริษัท PC's Limited ณ ตอนนั้นธุรกิจกำลังไปได้สวยลูกค้ายังคงสั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วน IBM จำนวนมาก เขาเริ่มมาขายตรงผ่านโฆษณาหนงสือพิมพ์ ทำให้ตัดราคาผู้ค้ารายย่อยได้ ธุรกิจเริ่มดีเกิดคาด ทำรายได้ถึง 80,000 ล้านเหรียญต่อเดือน โดยขายได้ในท้องถิ่นใกล้ๆ เขาจึงขอยืมเงินจากครอบครัวอีก 300,000 เหรียญเพื่อขยายธุรกิจ เขาย้ายไปอยู่ที่ใหม่มีพื้นที่กว่า 2,350 ตารางฟุต จนบริษัทเติบโตใหญ่กว่าเดิม และย้ายพื้นที่อีกครั้ง ใช้พื้นที่กว่า 7,200 ตารางฟุต หกเดือนจากนั้นก็ย้ายอีกครั้ง คราวนี้ยกเครื่องใหม่ ใหญ่กว่าเดิม ทั้งอุปกรณ์สำนักงาน โครงสร้างองค์กร ในปี 2528 บริษัทส่งคอมพิวเตอร์ Turbo Pc เสริมออฟชั่นยกเครื่องให้เลือกหลากหลาย จึงตอบโจทย์ลูกค้า ให้การตอบรับจนตลาดแตก!! และเพียงไม่นาน บริษัทก็มาเปลี่ยนเป็นชื่อ Dell, Inc จากนั้นขยายอาณาจักรเรื่อยมาจนปี 2530 ก็ขายเข้าตลาดหุ้นมูลค่ากว่า 80 ล้านเหรียญ ในวัย 24 ปีเท่านั้น และต่อยอดขยายธุรกิจผลิตโรงงานในประเทศไอร์แลนซ์ 2533 จนเมื่อปี 2536ก็ได้ผลิตคอมพิวเตอร์เครื่องแรกขึ้นมา กลายเป็นผู้บริหารหนุ่มไฟแรงที่อายุน้อยเท่าที่เคยมีมาในกลุ่ม Furtune 500
ด้วยกลยุทธ์ เข้าตลาดเร็ว ให้บริการที่เหนือกว่ามุ่งมั่นพัฒนาสินค้าให้ดีที่สุด และเปิดบริการให้ลูกค้าประกอบเครื่องคุณภาพสูงด้วยตนเอง จัดเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในลูกค้าและเข้าสู่อินเตอ์เน็ตตั้งแต่เริ่มต้น และใช้คนเก่ง ๆมาทำงาน เพื่อที่พวกเขาจะนำคนเก่ง ๆเข้ามาอีก ดังนั้นเขาจึงเจาะจงเลือกจ้างพนักงานที่มีคุณภาพ เพื่อธุรกิจเดินหน้าและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ก่อนจะผันตัวเองมาบุกอุตสาหกรมคอมพิวเตอร์จนประสบความสำเร็จเป็นชั้นนำของโลก และเริ่มผลิตแล็บท็อบจนครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12 ในปี 2544 นำชื่อเสียงและความยิ่งใหญ่มาสู่ระบบการขายเป็นอย่างยิ่ง
เดลล์เริ่มพัฒนาสินค้าออกสู่ตลาด บริหารงานแบบเมตริกซ์มาใช้ ทั้งระบบตรวจสอบ ความรับผิดชอบ และว่าจ้างบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดกระบวนการพัฒนาสินค้าสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่มาโดยเฉพาะ เพื่อสร้างขั้นตอนให้เหมาะสมกับเดลล์มากที่สุด เดลล์แบ่งแผนกต่างๆ ออกเป็นธุรกิจย่อยหลายหน่วย แต่ละหน่วยแบ่งเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายการเงิน ฝ่ายเทคโนโลยี ตอบสนองกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด ทำให้บริษัทโตอย่างก้าวกระโดด แถมเขายังแบ่งกลุ่มลูกค้าแต่ละขนาดอย่างชัดเจน ทั้งขนาดใหญ่ กลาง สถาบันศึกษา และหน่วยงานรัฐบาล ลูกค้าทั่วไป อีกทั้งเดลล์ยังผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ทำให้แต่ละวันขายดีไม่มีสินค้าเหลือในแต่ละวัน และมีระบบการส่งสินค้ารวดเร็ว เหนือคู่แข่ง
ปี2538 ธุรกิจที่กำลังโลดแล่นกับชะงัก ชนิดที่ว่า ไม่โตก็ต้องตาย บริษัทส่วนใหญ่เริ่มรวมตัวกัน เดลล์ต้องเผชิญกับความท้าทาย และขยายสินค้าให้มากขึ้น ไม่จำกัดแค่เครื่องแบบตั้งโต๊ะโน๊ตบุ๊ค แต่ต้องโตต่อไปถึง เซิร์เวอร์ เพื่อแข่งขันกับเจ้าใหญ่ เขาเริ่มสร้างหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งขึ้นระดมพลทำงานในตำแหน่งต่างๆ ว่าจ้างพนักงานที่พร้อมสำหรับงานในอนาคต หาคนที่มีพรสวรรค์คนเก่งๆ มาร่วมงาน และจูนแนวคิดเข้าด้วยกัน อนุญาตให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงงานที่เหมาะสมกับพวกเขาได้ เพื่อที่จะได้อยู่กับเขานานๆ
ปัจจุบัน เดลล์เทคโนโลยีส์ สยายปีกเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก่อตั้งทีมฝ่ายขายรวมสำหรับเดลล์ แลเดลล์อีเอ็มซี และสามารถสร้างช่องทางจำหนายเดลล์ เทคโนโลยีส์ มูลค่ากว่า 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมเร่งสร้างนวัตกรรม นำผลิตภัณฑ์ระดับเอ็นเตอร์ไพรซ ครอบคลุมทุกสายผลิตภัณฑ์มาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นเพื่อนำออกสู่ตลาด วันนี้เดลล์เป็นบริษัทที่นำเสนอระบไอทีแบบผสานที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรที่ยั่งยืน เขาเป็นผู้ผลักดันนวัตกรรมล้ำหน้า เขากล้าทำในสิ่งใหม่ๆ จนเติบโตได้มาถึงทุกวันนี้ แน่นอนว่าเขาไม่รอเวลา ไม่รอความพร้อม แม้อายุในช่วงเริ่มธุรกิจจะน้อยก็ตาม แต่กลับมุ่งมั่น กล้าที่จะลงมือทำ สร้างโอกาสขึ้นมา และบุกธุรกิจเดินทัพสร้างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่ จนสง่าในวงการไอทีเช่นวันนี้ เพราะมีทัศนคติที่ดี โดยเขาได้ให้แนวคิดไว้ว่า
“อย่ามัวเสียเวลาเลือกโอกาสนานเกินไป
เพราะคุณจะพลาด “โอกาสที่ดี”
http://www.thaigoodview.com/node/204096
https://www.sales100million.com/single-post/The-Dell-Ways
http://m24hr.blogspot.com/2012/06/michael-dell-direct-to-top.html
https://www.mxphone.net/061114-dell-fastest-growing/
https://www.voicetv.co.th/read/62761