โพสเมื่อ 08 Mar 2019 20:20:44 1186 view
Tony Hsieh ชายผู้สร้างธุรกิจผุดไอเดียจากการตามหารองเท้าสู่ Zappos
จากจุดเล็กๆ ของชายผู้ตามหารองเท้า สู่บริษัท Zappos Web E-Commerce ขายรองเท้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำยอดขายได้สูงถึง 1000 ล้านดอลลาร์ต่อปี เทียบฝีเท้ายักษ์ใหญ่อย่าง Amazon จนอดใจไม่ไหวต้องขอซื้อกิจการมูลค่า 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
Tony Hsieh ถือกำเนิดเกิดมาในครอบครัวชาวไตหวันสายเลือดเอเชียแท้ที่เกิดในอเมริกา ด้วยคติแบบเอเชียคือให้เน้นการเรียน เข้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง เพื่อได้ทำงานที่มั่นคง เขาเข้าเรียนที่ฮาร์วาร์ด โดยตั้งใจจะเรียนแพทย์ แต่โทนี่กับเริ่มสนใจด้านธุรกิจ โดยเมื่อช่วงอายุ 9 ขวบ เขาเริ่มเปิดฟาร์มไส้เดือน โดยลงทุนเงินทั้งสิ้น 33.45 ดอลล่าร์ ได้ไส้เดือนมาทั้งหมด 100 ตัว หลังจากนั้นไม่ถึงเดือนก็เจ๊งไม่เป็นท่า และเมื่อเรียนจนจบฮาร์วาร์ดได้เข้าทำงานที่ออราเคิล จนเบื่อความจำเจกับงานเดิม จึงลาออกมาทำเว็บไซต์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ สุดท้ายได้ไปปิ๊งไอเดียบริการแลกเปลี่ยนโฆษณา LinkExchange และได้ก่อตั้งบริษัท LinkExchange ในอพาร์ตเม้นของตัวเอง โดยเริ่มทุกอย่างจากศูนย์ จนเติบโตเป็นพุแตก และเมื่อปี 1996 Yahoo ได้ติดต่อขอซื้อบริษัท ด้วยเงิน 20 ล้านดอลลาร์ แต่เขาปฏิเสธเพราะคิดว่า LinkExchange สามารถทำเงินได้มากกว่านั้น หลังจากนั้นเพียง 2 ปี ในปี 1998 เขาขายบริษัท ให้กับ Microsoft ด้วยมูลค่า 256 ล้านดอลลาร์
Tony Hsieh จัดว่าเป็นเศรษฐีดอทคอมยุคแรกๆ ด้วยความที่มีจุดยืน และเริ่มไม่มีความสุขกับงานที่ทำ LinkExchange เขาฉีกสัญญาลาออกจากไมโครซอฟท์ แต่จะสูญเงินไปมาก เพราะเงื่อนไขต้องอยู่กับบริษัทอีก 1 ปี แต่เด็ดขาด ตัดสินใจมาเปิดบริษทขนาดเล็ก ลงทุน startup ยุคดอทคอมในปี 1999 ด้วยการเปิด Zappos (แซปโปส มาจากภาษาสเปน zapatos ที่แปลว่า รองเท้า) จากจุดเริ่มต้นเขาต้องการหาซื้อรองเท้าที่อยากได้ในห้างแถวบ้าน แต่กับไม่มีขาย จนเสียงสวรรค์จากพ่อก็จุดประกายไอเดียขึ้นมา “ทำไมไม่สั่งซื้อทางโทรศัพท์เอาละ” เขาจึงได้ไอเดียเรื่องการขายรองเท้าออนไลน์เกิดขึ้น และเริ่มทำการศึกษาตลาดออนไลน์ ธุรกิจรองเท้าที่ทำการสั่งผ่านโทรศัพท์นั้นมีมูลค่ากว่า 2000 ล้านดอลลาร์ หรือ 5%จากตลาดทั้งหมด เลยเริ่มธุรกิจบุกตลาดอย่างเต็มตัว ธุรกิจของเขาใช้วิธีการไม่สต๊อกสินค้า ใช้วิธีการ dropship ด้วยการสั่งซื้อจากหน้าเวปแล้วค่อยไปสั่งซื้อกับบริษัทรองเท้าอีกทอดหนึ่ง
แต่ชีวิตไม่ได้ทะยานขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง เกิดวิกฤตทางการเงิน ฟองสบู่แตกช่วง 2000-2001 เขาไม่สามารถหาเงินมาลงทุนจากผู้ร่วมลงทุนได้ จึงตัดสินใจขายคอนโดเพื่อให้ Zappos อยู่รอด และต้องทำสิ่งที่เจ็บปวดที่สุดด้วยการเลย์ออฟพนักงาน ส่วนตัวเขาเองลดเงินเดือนตำแหน่งCEO เหลือเดือนละ 2เหรียญ!! จุดพลิกผันทางธุรกิจครั้งแรก Zapposพบว่าลูกค้ามักสั่งรองเท้ารุ่นยอดนิยมที่ Zappos โดยบริษัทรองเท้ารุ่นนี้ไม่ได้สนใจด้านออนไลน์เพราะขายดีอยู่แล้ว เขาจึงเริ่มเปลี่ยนแนวคิดด้วยการเริ่มสต๊อกสินค้าเอง ทำรายได้สูงกว่าบริษัทเดิมที่ใช้วิธีทำข้อตกลงกับบริษัทคู่ค้า แต่ต้องใช้เงินลงทุนสต๊อกสูงและเริ่มย้ายโกดังตัวเองไปอยู่ที่รัญเคนทักกี เพื่อลดปัญหาการนดส่ง
ปัญหาระห่ำเข้ามาอีกระลอกในปี 2004 จากการขนย้ายโกดัง สินค้ามีปัญหาเนื่องจากระบบลอจิสติกส์บริษัทคู่ค้าไม่ดี ทำให้ส่งสินค้าผิด สต๊อกไม่ถูก ยอดสั่งเริ่มลดลง ช่วงนี้เองเป็นช่วงดิ่งลงเหวของ Zappos เพราะเงินลงทุนหมดแล้ว สูญเงินไปกว่าหมื่นล้านดอลล่าร์ต่อวัน จึงต้องหันหน้าหาที่พึ่ง ด้วยการกู้ธนาคารมาต่อชีวิต สุดท้ายตัดสินใจเช่าโกดังทำระบบเอง จนสถานการณ์การเงินเริ่มดีขึ้น และตัดสินใจยกเลิกระบบสั่งซื้อสินค้าแบบไม่ต้องสต๊อกทั้งหมด ย้ายศูนย์สินค้ามาที่ลาสเวกัส เพราะอยู่ใกล้สนามบินหลัก บริษัท UPS เพียง 15 นาทีใช้เวลาขนส่งรวดเร็วและถูกมาก และหันมาสนใจเรื่อง “ความสุข”ทั้งลูกค้าและพนักงาน
ยกเครื่องปรับบริการใหม่ ด้วยการบริการเป็นเลิศ หากไม่พอใจสินค้าส่งกลับฟรีโดยไม่คิดค่าไปรษณีย์ เลือกคู่ที่ชอบจนกว่าจะพอใจ ถึงขนาดว่ามีลูกค้าที่ขอคืนรองเท้าเพราะสามีที่สั่งนั้นเสียชีวิตไปแล้ว แต่แทนที่เขาจะคืนรองเท้าเท่านั้น ยังแสดงความเสียใจด้วยการส่งดอกไม้มาด้วย รวมถึงการแสดงเบอร์โทรศัพท์ทุกทุหน้าของเว็บไซด์ เพื่อสะดวกต่อการเรียกใช้บริการ พนักงานก็มีความสุข เพราะการวางหมากเซททีมตั้งแต่การเลือกคนเข้ามาทำงานในฝั่งลาสเวกัส ทุกคนเข้าถึงผู้บริหารได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใส่ยูนิฟอร์มมาทำงาน เรียกว่าอิสระในการใช้ชีวิตการทำงาน และดึงศักยภาพของพนังงานมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จนธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง ราวปี2005 ยอดขายกระโดดไปแตะ 300 ล้านเหรียญ และทยานขึ้นสู่ 800 ล้านเหรียญในปี 2007 จนเก้าอี้Amazon สั่นถึงกับบินมาถึงลาสเวกัสเพื่อขอซื้อกิจการ Zappos แต่เขาปฎิเสธเพราะเกรงว่าไปอยู่กับคนอื่น แบรดน์ Zapposจะล้มสลาย
จนปี 2009 Jeff Bezon แห่ง Amazon เห็นพลังการเติบโตจากการบริหารของคนเอเชีย เขาจึงเข้ามาพบ โทนีอีกครั้ง เพื่อยื่นข้อเสนอให้นั่งเก้าอี้ผู้บริหารสูงสุดมีอำนาจ 100% ใน Zappos โดยเลือกใช้วิธีแลกหุ้น ด้วยมูลค่ากว่า 1,200 ล้านดอลลาร์เพื่อความผูกพันระยะยาวร่วมกัน มากกว่าจ่ายเงินสดแล้วขาดจากกัน และเขายังทำหน้าที่บริหารบริษัทจวบจนทุกวันนี้ ปัจจุบัน Zappos เป็นหนึ่งในองค์กรระดับโลกที่มีผู้คนมากมายอยากร่วมงานด้วย และมีกิจการยิ่งใหญ่ระดับ Google,Facebook,eBay มีการแตกลายสินค้าออกเป็นเสื้อผ้าเครื่องประดับ ชูจุดเด่นด้วยการจัดส่งที่รวดเร็วแบบ Over-Night Shipping และเป็นที่หนึ่งใน Customer Service
และนี่คือตัวอย่างผู้บริหารรุ่นใหม่ที่เริ่มจากไอเดียเรื่องเล็กๆ น้อยๆจุดที่มองไม่เห็น อีกทั้งยังมีจุดยืน Passion หลงใหลในสิ่งที่ทำ โฟกัสเป้าหมายของตัวเอง เขารู้ว่าจะทำอย่างไรให้ Zappos อยู่รอด และเขาได้ใช้สมการคณิตศาสตร์ที่เป็นจริงเสมอในการสร้าง Zappos การให้ความสุข = การได้รับความสุข โดยให้ความสำคัญกับทีมงานมาก ด้วยการสร้างวัฒนธรรมที่ดีของบริษัทร่วมกัน ใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกทีมงานตอนสัมภาษณ์โดยมองธุรกิจร่วมกัน รักในงานที่ทำเพื่อผลักดันให้ธุรกิจเติบโต
'you should figure out what your values are and then align the entire organization around them.'”
คุณไม่สามารถมีส่วนร่วมกับลูกค้าได้โดยปราศจากพนักงานที่มีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้ง
หนังสือเล่ม ใช้ความสุขทำกำไร (Delivering Happiness)
http://yourbizcat-th.blogspot.com/2015/10/9-tony-hsieh.html
http://www.digimolek.com/2015/05/zappos/
https://blog.kissmetrics.com/zappos-art-of-culture/